ในปี พ.ศ. 2469 รัชสมัยของพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศสยาม ได้จัดตั้ง “กรมรักษาสัตว์น้ำ” ขึ้นมา
เพื่อจะได้ศึกษาและจัดการอีกทรัพยากรหลักภายในประเทศ เนื่องจากปลาคืออาหารหลักของคนในชาติ
ไม่ว่าจะเป็น ปลาน้ำเค็ม ปลาน้ำกร่อย และปลาน้ำจืด เจตนาของพระองค์คือ เมื่อรู้จักกิน ก็ต้องรู้จักรักษา
ดร.ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ ชาวอเมริกัน ผู้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญการสำรวจพันธุ์สัตว์น้ำ ได้เป็นอธิบดีคนแรก
ท่านได้เดินทางไปกับเรือสำรวจทั่วโลก พอเดินทางมาที่ไทย ก็ทำการสำรวจสัตว์น้ำทั่วประเทศ ถือได้ว่า
เป็นการสร้างประโยชน์มากมายมหาศาลให้กับสยามของเรา ทางเราเมื่อเห็นผลงานท่านก็เชิญให้มาช่วย
ถึงจะได้เป็นอธิบดีแล้วก็ตาม แต่ท่านก็คงรู้อยู่แก่ใจว่า คงอยู่สยามไม่ได้นาน เลยต้องหาคนมารับช่วงต่อ
ด้วยเหตุนี้ ดร.สมิธ จึงขอเข้าเฝ้าเจ้าฟ้าพระองค์หนึ่ง_ซึ่งก็คือ เจ้าฟ้ามหิดลฯ ผู้ซึ่งเป็นแพทย์เช่นเดียวกัน
………..
พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาแพทย์และการสาธารณสุขจากอเมริกา แต่ก่อนหน้า พระองค์ทรงสำเร็จ
การศึกษาด้านทหารเรือซึ่งมีผลคะแนนดีเยี่ยม และยังเคยได้ทรงงานทั้งในกองทัพเรือเยอรมันและสยาม
…
ดร.สมิธ คงจะเล็งเห็นแล้วว่า เจ้านายที่ทรงเป็นแพทย์ และเคยอยู่กองทัพเรือ.ย่อมจะให้ความสำคัญและ
เห็นคุณประโยชน์ของสัตว์น้ำในเชิงอนุรักษ์ และแล้วเจ้าฟ้ามหิดลฯ ก็ทรงมอบทุนการศึกษาให้ชาวสยาม
ได้ไปเรียนต่อด้านการประมงยังต่างประเทศ และพอสำเร็จการศึกษาจึงได้กลับมาดูแลสัตว์น้ำในประเทศ
….
เรื่องนี้จึงทำให้สยามในขณะนั้น ได้มีความรู้ทัดเทียมนานาอารยประเทศ จนอยู่มาวันหนึ่ง ได้มีครูคนหนึ่ง
สเก็ตภาพปลาซึ่งไม่มีคนรู้จัก และยังไม่มีใครเคยบันทึกเอาไว้ ดร.สมิธ พบว่านั่นเป็นปลาบู่ชนิดใหม่ของ
โลก จึงขอพระราชทานพระอนุญาต ใช้ชื่อปลาบู่สกุลใหม่นี้ว่า ‘Mahidolia mystacina’ นับเป็นหลักฐาน
ในทางประวัติศาสตร์และแวดวงวิชาการว่า ..แผ่นดินสยามมีหน่วยงานรับผิดชอบดูแลสัตว์น้ำทั้งประเทศ
……………..
แล้วนี่ก็คือ จุดเริ่มต้นของ 2 กรม ใน 2 กระทรวง ซึ่งก็คือ กรมประมง และ กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง
และยังได้ขยับขยายมาเป็นจุดเริ่มต้นของ คณะประมง.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แหล่งความรู้เรื่องปลา
ที่ตั้งมานานเกือบศตวรรษ จึงเปรียบได้ว่า เจ้าฟ้ามหิดลฯ.ทรงเป็นพระประทีปแห่งการอนุรักษ์สัตว์น้ำไทย
และยังได้มีการสืบสานต่อจากปลาบู่มาสู่ปลานิล ซึ่งเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญ ของในหลวงรัชกาลที่ 9
…………………..