สำหรับตัวผมเองแล้ว ช่างสีในเมืองไทย จะมีอยู่สามประเภท ได้แก่ 1. ช่างสีที่ดี คือต้องเป็นช่างที่มีความรู้ด้านคุณสมบัติของสี และ พื้นผิวที่กำลังจะลงสี และ มีความรับผิดชอบ ในการทำงาน 2. ช่างสีทั่วไป ก็คนปกติธรรมดา ที่ทาสีพอเป็น รู้บ้างไม่รู้บ้าง งูๆปลาๆ แต่คิดราคามืออาชีพ 3. ช่างสีสมัครเล่น ก็อย่างเราๆท่านๆ ที่อยากจะทำสีซ่อมแซมเครื่องใช้ ในชีวิตประจำวัน ไม่ได้ต้องการงานเนียบเลิศเลออะไรมาก.แต่ก็ต้องแก้ไขสถานการณ์.เพื่อให้ความขี้ริ้วขี้เหร่ได้กระจัดกระจายหายไป
เฟอร์นิเจอร์ไม้มีอยู่มากมายหลายประเภท เป็นที่นิยมในบ้านเมืองเรา เพราะความสวยงามในราคาเอื้อมถึง ส่วนความทนทาน ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งาน และ การดูแลรักษา ดังนั้นแล้ว หากมีรอยขูดขีดมารบกวนสายตา ท่านคงไม่อาจนิ่งเฉย เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วเรามาดูขั้นตอนของการทำสีกันเถอะฮะ
1 – ตรวจเช็คเตรียมชิ้นงาน คือ ต้องแน่ใจว่างานเสร็จพร้อมที่จะลงสีแล้วจริงๆ จะได้ไม่ต้องมาซ่อมอีกรอบ ให้เหนื่อยแรงจนเสียความรู้สึก เช่น.. ขัดกระดาษทรายแล้ว ย้ำหัวตะปูแล้ว ไม่มีคราบอะไรใดๆ อยู่บนชิ้นงาน
2 – ขั้นตอนก่อนการลงพื้น ให้พื้นผิวมีความเรียบลื่น จะได้ทาสีได้อย่างไม่ติดขัด ด้วยการโป้วรอยต่อหัวตะปู ให้เนียนเรียบไม่เป็นขุย ละที่นี้ก็เตรียมสีฝุ่นที่ต้องใช้ ผสมกับดินสอพองและน้ำ เพื่อเคลือบผิวแล้วรอให้แห้ง
3 – หลังจากขั้นตอนที่สอง ให้ขัดด้วยกระดาษทรายเบาๆ โดยไม่ให้กินลึกถึงเนื้อไม้ แล้วจึงเคลือบด้วยแชลแล็คให้ทั่ว เพื่อเป็นการเคลือบสีพื้นผิวกับเนื้อไม้ พอแห้งดีแล้ว.ก็ค่อยซ้ำแชลแล็คอีกที เพื่อความเรียบเนียน
4 – ขั้นตอนนี้สำคัญมาก (อันที่จริงแล้ว มันก็สำคัญทุกๆขั้นตอนนะผมว่า) คือการลงแลคเกอร์ เพื่อเคลือบขั้นสุดท้าย โดยทั่วไปแลคเกอร์จะมีสองประเภท คือให้ความมันเงา หรือ ชนิดเคลือบสีด้าน พยายามทาไปทางเดียว เพราะการทาย้อน.จะทำให้เกิดการดูดกลับ ลงแลคเกอร์ สลับกับ ขัดกระดาษทราย (repeat 3 times)
<<<<<<<<<<<<<<<<<<<< credit : https://www.doityourself.com >>>>>>>>>>>>>>>>>>>>