อีกหนึ่งเรื่องควรรู้สำหรับประชาชนก็คือการใช้ภาษาและถ้อยคำในการสือสาร ซึ่งทั้งนี้ทาง ผศ.ดร. อาทิตย์ ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาชี้แจ้ง สรุปเป็นข้อๆ ไว้ดังนี้
1) คำลงท้าย “ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ”
2) คำว่า “กราบบังคมลา/ กราบบังคมทูลลา” ใช้ในเวลาที่ข้าราชการหรือข้าราชสำนักตาย แล้วทำหนังสือกราบบังคมทูลลาพระเจ้าแผ่นดิน ถ้าพระเจ้าแผ่นดินสวรรคต ไม่ใช่คำนี้กับพระองค์ท่าน
ถ้าจะกล่าวในทำนองว่า ถวายความเคารพแด่พระองค์ท่าน ใช้ว่า “กราบถวายบังคม” หรือ “น้อมถวายบังคม” โดยไม่มีคำว่า “ลา/ ทูลลา”
3) “ส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย” หรือ “ส่งดวงพระวิญญาณ” ไม่มีธรรมเนียมใช้มาแต่เดิม
4) “ถวายความอาลัย” หรือ “น้อมเกล้าฯ ถวายความอาลัย” ไม่มีธรรมเนียมใช้มาแต่เดิม
5) คำที่ควรใช้-เรียบ งดงาม และรัดกุม มีแบบแผนที่ใช้กันมา “สำนึก/ รำลึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้”
6) คำว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ” เป็นคำโบราณ ธรรมเนียมภายหลัง การเรียกนามแผ่นดินเรียกตามพระนามพระเจ้าแผ่นดินนั้น ในกรณีนี้ คือ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช”
ส่วนพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ คำเรียกขานว่า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” จนกว่าจะทรงผ่านพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จึงจะเป็น “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”
7) หากจะไปเฝ้าพระบรมศพขณะอัญเชิญจากโรงพยาบาลศิริราชไปยังพระบรมมหาราชวัง ควรใช้ว่า “เฝ้าถวายสักการะพระบรมศพ” ไม่ใช่ “ส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย” เพราะธรรมเนียมโบราณ ราษฎรที่ไปจะนำดอกไม้ธูปเทียนไปจุดบูชา/สักการะพระบรมศพ ซึ่งไม่ใช่การ “ส่งเสด็จ”
ขอบคุณข้อมูล : แนวทางการใช้ถ้อยคำในช่วงนี้ โดยผศ.ดร. อาทิตย์ ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย