โปเกมอน โก นับเป็นเกมสุดฮิตที่สร้างปรากฏการณ์ในทั่วโลก
หลังประกาศเปิดตัวในเมืองไทยแล้วเมื่อวันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา
Pokemon GO (โปเกมอน โก) เกมที่สร้างปรากฏการณ์ “ออกจับโปเกมอน” ทั่วโลก ซึ่งจะให้ผู้เล่นสามารถเดินทางออกไปยังที่ต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ เพื่อค้นหา จับ ฝึกฝน และต่อสู้กับโปเกมอนตัวอื่น ๆ ในโลกของความเป็นจริง ได้ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่า ได้เปิดตัวในอีก 15 ประเทศ ได้แก่ บรูไน, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ไทย, เวียดนาม, ไต้หวัน, ปาปัว นิวกินี, ฟิจิ, หมู่เกาะโซโลมอน, ประเทศไมโครนีเซีย และ ประเทศ ปาเลา ซึ่งเรื่องนี้ได้สร้างความตื่นเต้นให้เกมเมอร์ในไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งผู้ที่ต้องการเล่นโปเกมอนโก ต้องทำการดาวน์โหลดเกมลงในมือถือ และใช้ Google Account ในการสมัครสมาชิก หรือจะใช้อีเมลสมัครก็ได้ โดยมีการประเมินกันว่า หลังจากเปิดตัวเกม ดังกล่าวมียอดดาวโหลดเกมแล้วทะลุ 100 ล้านครั้งไปเรียบร้อยแล้ว
โปเกมอน โก เป็นเกมแนว Simultion RPG จากทางนินเทนโด และ Niantic Labs ที่พัฒนาเทคโนโลยีสำหรับเกมนี้ โดยใช้งบไปทั้งหมดราวๆ 30 ล้าน USD โดยได้งบจากการลงขันของ The Pokémon Company, Nintendo และทาง Google ตัวเกมจะลงให้โทรศัพท์มือถือระบบ iOSและ Android ตัวเกมภาคนี้จะไม่มีเนื้อเรื่อง แต่จะเน้นไปที่เกมเพลย์ในโลกจริงๆมากกว่า ซึ่งตัวเกมสามารถเล่นพร้อมกันหลายคนผ่านระบบ 3G (หรือ 4G) รูปแบบเกมจะเน้น “การไล่จับโปเกมอนในชีวิตจริง ผ่านสถานที่จริงแทน” (Augmented reality) ซึ่งแต่ละสถานที่ก็จะมี Pokemon หลากหลายสายพันธุ์ และหลากหลายธาตุต่างกันไป เพื่อนำไปฝึก และพัฒนาร่าง แบบเดียวกับในฉบับเกมบอย หรือ 3Ds ส่วนข้อดีของเกมนี้ นอกจากความสนุกสนานเพลิดเพลินแล้ว ยังทำให้ผู้เล่นได้ขยับร่างกาย เพราะต้องคอยตามล่าหาตัวโปเกม่อน ตามสถานที่ต่างๆ จะมานั่งอยู่กับที่เหมือนเกมอื่นๆ ไม่ได้
เกิดกระแสโปเกม่อน โก ฟีเวอร์หนัก
จากการเช็กกระแสบนโลกออนไลน์ พบว่า ผู้คนมากมายมีการโหลดโปรแกรมของโปรเกม่อนมาเล่น พร้อมทั้งแชร์เรื่องราวเกี่ยวกับกิจกรรมการจับโปรเกม่อนตามสถานที่ต่างๆ อย่างสนุกสนาน ไม่เว้นแม้แต่เด็ก วัยรุ่น คนทำงาน รวมถึงคนมีอายุ เพราะเป็นเกมส์ใหม่ที่กำลังสร้างความตื่นเต้นในสังคมขณะนี้ รวมถึงสังคมไทยด้วย
อย่างไรก็ตาม เริ่มมีกระแสข่าวถึงข้อเสียของเกมนี้ ทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ กรณีการบุกรุกสถานที่ต่างๆ รวมถึงบ้านผู้อื่น เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย มีการแจ้งความว่า มีคนแปลกหน้าแห่กันเข้ามาบริเวณบ้าน เพราะตั้งใจมาจับตัวโปเกมอน รวมไปถึงมีคนที่ได้รับบาดเจ็บจากการเล่นเกม เพราะมัวแต่ให้ความสนใจกับเกม จนไม่ได้ดูสภาพแวดล้อมรอบตัว และทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย อาทิ โดนรถเฉี่ยวชน หรือได้รับอุบัติเหตุต่างๆ เป็นต้น แต่กรณีที่ร้ายแรงเลย ก็คือ โจรหัวใสบางราย ก็เริ่มใช้เกมนี้ ในการหลอกล่อให้ผู้เล่ม มายังสถานที่เปลี่ยว เพื่อชิงทรัพย์ ก็เกิดขึ้นมาแล้วก็มี
สรุปปัญหาน่าคิดของเกมโปเกม่อน โก
1. ทำให้การใช้โทรศัพท์ที่สิ้นเปลืองพลังงานสูง เพราะการเล่นเพียงแค่ครึ่งวัน ก็อาจทำให้แบตตารี่หมด จนกลายเป็นปัญหาว่า เมื่อถึงตอนใช้งานจริงไม่สามารถติดต่อใครได้เลย
2.การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นน้อยลง ตามภาวะ “สังคมก้มหน้า” หลังจากจดจ่อที่จะเอาชนะและติดตามเกมอย่างต่อเนื่องจนไม่สนใจเพื่อนฝูง หรือครอบครัวได้ รวมถึงเวลาไปทำกิจกรรมกับเพื่อนฝูงหรือครอบครัว อาจจะก่อให้เกิดความสนุกน้อยลง เพราะผู้เล่นอาจจะสนใจกับเนื้อหาของเกม มากกว่าการได้เรียนรู้จักสถานที่ หรือพูดคุยปฏิสัมพันธ์กับหมู่คณะนั่นเอง
3.ความเครียด เพราะ การตามหาโปเกม่อนนั้น ต้องใช้พลังร่างกายของผู้เล่น ที่ต้องมีการตื่นตัวตลอดเวลา จึงไม่มีช่วงที่ผ่อนคลายระหว่างเล่นเลย อาจทำให้ไม่สามารถตอบสนองต่อสภาพนอก และอาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้
4. อาจก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย หากคนที่เล่นเกมส์นี้ยังไม่มีวุฒิภาวะพอ ไม่มีรายได้พอ บางทีก็อาจจะถึงกับเป็นหนี้เป็นสินได้ ผู้ปกครองควรให้คำแนะนำดูแลอย่างใกล้ชิดกับเยาวชนด้วย
5.อาจจะตกงานได้ ซึ่งก่อนหน้านี้เราคงเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับบางองค์กร ห้ามเล่นไลน์ หรือโซเชียลมีเดียร์ จนถึงขั้นมีการเลิกจ้างกับลูกจ้างที่ไม่ปฏิบัติตามกฎดังกล่าว ซึ่งการเล่นเกมดังกล่าวในเวลาทำงาน ย่อมสร้างความเสียหายต่อนายจ้าง หรือเจ้าขององค์กร เพราะจะทำให้สมาธิในการทำงานของพนักงานลดลงนั่นเอง
6. อันตรายจากมิชฉาชีพ ที่มุ่งต่อนักเล่นเกมในสังคมก้มหน้า ที่มัวแต่แชทและตามล่าหาโปเกม่อน ทำให้มิชฉาชีพอาจเห็นช่องทางในการชิงทรัพย์ นั่นก็คือ โทรศัพท์มือถือ นั่นเอง
นอกจากนี้ ผลของกระแสโปเกม่อน โก ยังก่อให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ ที่สร้างรายได้เสริมให้กับคนหัวใสด้วย เช่น บริการเช่ารถกระบะเพื่อตามล่าหาโปเกมอน คิดค่าบริการวันละ 1,000-2,000 บาท หากเป็นมอเตอร์ไซค์ ก็ราวๆวันละ 500-1,000 บาท เป็นต้น
ที่มาของข้อมูล
metalbridges.com
Matichononline.com
Manager.co.th
ริวิวโดย
Mr.AboutLiving