เตรียมตัวให้ดี จากวันนี้ยาวกันปีถึง ปี 2562 วิกฤตการจราจรกรุงเทพฯ จะหนักมากยิ่งขึ้น (จากที่หนักอยู่แล้ว) จากการปิดถนนหลัก 10 สาย ปักตอม่อรถไฟฟ้า เพิ่มอีก 3 สาย คือ สายสีเหลือง สีชมพู และสายสีส้มที่จประเดิมก่อนใครเพื่อน เดือน พ.ค. 60 นี้แล้ว
สายสีส้ม
รถไฟฟ้า “สายสีส้ม” ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี มีระยะทาง 21.2 กม. งบประมาณ79,221 ล้านบาท จะใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี มีกำหนดเสร็จเปิดบริการมี.ค. 2566 แนวเส้นทางจะเริ่มที่สถานีศูนย์วัฒนธรรม จุดเชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดิน จากนั้นมุ่งหน้าศูนย์ซ่อมบำรุง แล้วเบี่ยงไป ถ.พระราม 9 เลี้ยวเข้า ถ.รามคำแหง แยกลำสาลี กาญจนาภิเษก สิ้นสุดที่สุวินทวงศ์ ใกล้จุดตัดกับ ถ.รามคำแหง เป็นโครงสร้างใต้ดิน 12.2 กม.จากศูนย์วัฒนธรรม-คลองบ้านม้า จากนั้นเป็นโครงสร้างยกระดับจนถึงปลายทางที่สถานีสุวินทวงศ์ โดยผู้รับเหมาจะเริ่มเข้าเข้าพื้นที่ก่อสร้าง ในวันที่ 2 พ.ค. นี้ แต่คงเข้าไม่พร้อมกันทุกจุด ขั้นแรกจะเริ่มรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค ซึ่งถนนพระราม 9 และรามคำแหงใต้ดินมีท่อประปาขนาดใหญ่ คาดว่าจะทยอยปิดถนนประมาณ ก.ย.นี้ สำหรับสถานีนั้นสายสีส้มมีทั้งหมด 17 สถานี ได้แก่ 1.สถานีศูนย์วัฒนธรรม 2.สถานี รฟม. 3.สถานีประดิษฐ์มนูธรรม 4.สถานีรามคำแหง 12 5.สถานีรามคำแหง 6.สถานีราชมังคลา 7.สถานีหัวหมาก 8.สถานีลำสาลี 9.สถานีศรีบูรพา 10.สถานีคลองบ้านม้า 11.สถานีสัมมากร 12.สถานีน้อมเกล้า 13.สถานีราษฎร์พัฒนา 14.สถานีมีนพัฒนา 15.สถานีเคหะรามคำแหง 16.สถานีมีนบุรี และ 17.สถานีสุวินทวงศ์
สายสีเหลือง – สีชมพู
ขณะที่รถไฟฟ้า “สีชมพู” แคราย-มีนบุรี 34.5 กม. 53,519.50 ล้านบาท และ “สีเหลือง”ลาดพร้าว-สำโรง 30.4 กม. 51,931.15 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ ประกอบด้วย บมจ. บีทีเอส กรุ๊ป โอลดิ้งส์, บมจ. ซิโน-ไทยฯ และ บมจ. ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้งส์ เป็นผู้ก่อสร้างและบริหารการเดินรถทั้งโครงการ โดยทั้ง 2 สายจะเซ็นสัญญาในช่วง ปลาย เม.ย.- ต้นพ.ค. นี้ จะเริ่มเข้าพื้นที่ก่อสร้างปลายปีนี้ และคาดว่าจะเปิดใช้บริการในปี พ.ศ. 2563
แนว “สายสีชมพู” จุดเริ่มต้นอยู่หน้าศูนย์ราชการนนทบุรีเชื่อมต่อกับสายสีม่วง วิ่งเข้าถนนติวานนท์ เลี้ยวขวาห้าแยกปากเกร็ด ผ่านถนนแจ้งวัฒนะ ถนนรามอินทรา และมาปลายทางที่มีนบุรี มี 30 สถานี
ได้แก่ 1.สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี 2.สถานีแคราย 3.สถานีสนามบินน้ำ 4.สถานีสามัคคี 5.สถานีกรมชลประทาน 6.สถานีปากเกร็ด 7.สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด 8.สถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28 9.สถานีเมืองทองธานี 10.สถานีศรีรัช 11.สถานีเมืองทอง 1 12.สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 13.สถานีทีโอที
14.สถานีหลักสี่ 15.สถานีราชภัฏพระนคร 16.สถานีวงเวียนหลักสี่ 17.สถานีรามอินทรา 18.สถานีลาดปลาเค้า 19.สถานีรามอินทรา 31 20.สถานีมัยลาภ 21.สถานีวัชรพล 22.สถานีรามอินทรา 40 23.สถานีคู้บอน 24.สถานีรามอินทรา 83 25.สถานีวงแหวนตะวันออก 26.สถานีนพรัตนราชธานี 27.สถานีบางชัน 28.สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ 29.สถานีตลาดมีนบุรี และ 30.สถานีมีนบุรี ใกล้แยกร่มเกล้า จะมีจุดจอดแล้วจร และศูนย์ซ่อมบำรุงบนพื้นที่ 280 ไร่
ส่วน “สายสีเหลือง” เริ่มต้นที่สถานีลาดพร้าวเชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดินแล้วไปตามถนนลาดพร้าว ยกระดับข้ามทางด่วนฉลองรัชจนถึงแยกบางกะปิ เลี้ยวขวาเข้าถนนศรีนครินทร์ จากนั้นยกระดับข้ามทางแยกต่างระดับพระราม 9 แยกพัฒนาการ ศรีนุช ศรีอุดมสุข ศรีเอี่ยม จนถึงแยกศรีเทพา เลี้ยวขวาเข้าถนนเทพารักษ์ และสิ้นสุดปลายทางที่ถนนปู่เจ้าสมิงพราย มีโรงจอดรถพร้อมศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่งและอาคารจอดแล้วจร 1 แห่งที่แยกต่างระดับศรีเอี่ยม มี 23 สถานี ได้แก่ 1.สถานีรัชดา 2. สถานีภาวนา 3.สถานีโชคชัย 4 4.สถานีลาดพร้าว 71 5.สถานีลาดพร้าว 83 6.สถานีมหาดไทย 7. สถานีลาดพร้าว 101 8.สถานีบางกะปิ 9.สถานีลำสาลี 10.สถานีศรีกรีฑา 11.สถานีพัฒนาการ 12.สถานีกลันตัน 13.สถานีศรีนุช 14.สถานีศรีนครินทร์ 38 15.สถานีสวนหลวง ร.9 16.สถานีศรีอุดม 17.สถานีศรีเอี่ยม 18.สถานีศรีลาซาล 19.สถานีศรีแบริ่ง 20.สถานีศรีด่าน 21.สถานีศรีเทพา 22.สถานีทิพวัล และ 23.สถานีสำโรง
Cr:ประชาชาติธุรกิจ