เนื่องจาก “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” กำลังจะมีขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม ที่กำลังจะมาถึง และส่วนหนึ่งในพระราชพิธีสำคัญก็คือ “ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค” ซึ่งประกอบไปด้วยเรือหลวงมากมาย ในด้านของประวัติและการจัดกระบวนเรือ เราขอติดค้างเอาไว้ก่อน เพราะอยากให้ทุกคนได้รู้จักเรือสำคัญในงานราชพิธีฯนี้ ซึ่งมีความวิจิตรและงดงามเหนือพรรณนา ไม่แพ้ชาติใดในโลก
======================================================================================================================================================
เรือเสือทะยานชล และ เรือเสือคำรณสินธ์ุ เป็นเรือนำกระบวนเรือพยุหยาตราชลมารค ในสมัยโบราณ จะเรียกว่า เรือพิฆาต
…
เรือทองขวานฟ้า และ เรือทองบ้าบิ่น เป็นเรือคู่หน้าสุด ที่นำกระบวนเรือพยุหยาตราชลมารคทั้งหมด
…
เอกชัยเหินหาว แปลว่า “ชัยชนะสูงสุดทะยานสู่ท้องฟ้า” เอกชัยหลาวทอง แปลว่า “เรือทองที่บรรจงสร้างเพื่อชัยชนะ”
======================================================================================================================================================
ความงดงามโอ่อ่าในการประดับประดา เรือหลวงทุกองค์นี้ ต้องใช้ช่างที่มีทักษะเป็นเลิศเท่านั้น ศิลปะความเป็นไทยโดยปกติ ก็มีความอ่อนช้อยสวยงามเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่ในงานสำคัญระดับโลกเช่นนี้ หากเพียงแค่สวยธรรมดา ผมว่ามันยังน้อยเกินไป และมันเป็นเรื่องยากลำบากเหลือเกิน ที่ต้องบรรยายความงามของ เรือในพระราชพิธีฯ เอาแค่เห็นภาพยังแทบนึกไม่ออกเลยว่าเหล่าบรรดานายช่างหลวง เริ่มจากตรงไหนก่อน
======================================================================================================================================================
อสุรวายุภักษ์ (ม่วง) แปลว่า “อสูรผู้มีลมเป็นอาหาร” อสุรปักษี (เขียว)แปลว่า “อสูรผู้เป็นนก”
…
พาลี มีกายสีเขียว (ผู้พี่) และ สุครีพ มีกายแดง (ผู้น้อง) ทั้งสองพี่น้อง เป็นราชาวานร แห่งเมืองขีดขิน
…
เรือพญาวานรร่างกายสีขาวคือ หนุมาน ส่วน เรือพญาวานรร่างกายสีดำคือ นิลพัล
…
เรือครุฑเหินเห็จ (เรือครุฑเหิรระเห็จ) ครุฑกายสีแดง ส่วน เรือครุฑเตร็จไตรจักร ครุฑกายสีชมพู
======================================================================================================================================================
ถ้าจะให้สาธยายถึงขั้นตอนของการตกแต่งเรือ คงไม่มีใครจะรู้ดีไปเท่า ครูช่าง ผู้ดูแลควบคุมความเรียบร้อย แต่ถ้าจะมองในระดับคนชั้นสามัญเช่นผม ก็ไม่อาจจะประเมินให้ถูกต้องได้ จึงขอเพียงแค่ชื่นชมและยกย่อง นายช่างทุกท่าน ที่ได้มีส่วนร่วมในงานตกแต่งเรือพระราชพิธีฯในครั้งนี้ ผมจึงขอคารวะทุกท่านด้วยจิตคารวะ
======================================================================================================================================================
เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ มาจากคำภาษาสันสกฤต อเนกะชาตะภุชงฺคะ แปลว่า งูหลากหลายชนิด
ภุชงฺคะ มีความหมายเดียวกันกับ นาค หมายถึง ตัวแทนแห่งพลังอำนาจ ความรอบรู้ และความอุดมสมบูรณ์
…
เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช คำว่า อนนฺตนาคราชะ แปลว่า อนันตะ ราชาแห่งนาคหรืองูทั้งหลาย
มาจากคำ 3 คำ ซึ่งได้แก่ อนนฺตะ (ไม่สิ้นสุด , นิรันดร) นาคะ (นาค หรือ งู) ราชะ (เจ้านาย หรือ พระราชา)
…
เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ นารายณ์ เป็นพระนามของพระวิษณุ ส่วนสุบรรณ คือ พญาครุฑ
ส่วนที่เติมสร้อยว่า รัชกาลที่ ๙ เพื่อต้องการสื่อให้ประจักษ์ ว่าเรือองค์นี้ ถูกสร้างขึ้นในรัชสมัย รัชกาลที่ ๙
…
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ สร้างตามเรือพระที่นั่งโบราณคือ เรือศรีสุพรรณหงส์ หรือ เรือชัยสุพรรณหงส์
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ได้รับรางวัลยกย่องให้เป็นเรือมรดกโลก จากองค์กรที่เรียกว่า World Ship Trust
======================================================================================================================================================
======================================================================================================================================================
www.virtualmuseum.finearts.go.th/royalbarges/index.php/th/hilight/เรือพระราชพิธี.html
https://hasbeenthere.files.wordpress.com/2012/11/screenshot2012-11-08at32600pmpng