นี่เป็นบทความต่อจากความเดิมตอนที่แล้ว ซึ่งเกี่ยวกับผักไทยพื้นบ้าน ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ อีกห้าชนิดที่เหลือ ลองมาดูกันต่อเลย ว่ามีอะไรอีกบ้าง และมีสรรพคุณอะไรเพิ่มเติม ถ้าหากไม่มีใครขัดจังหวะ ขอเชิญติดตามได้เลยครับ สุดท้ายนี้ ขอให้ทุกๆท่าน จงมีสุขภาพที่ดีแข็งแรงยิ่งๆขึ้นไป!
—————————————————————————————————————————
6.ไหลบัว หรือ หลดบัว คือส่วนที่งอกออกมา เพื่อที่จะขยายพันธุ์ ไปเป็นลำต้นใหม่ ลักษณะของไหลบัว จะเป็นก้านยาวๆสีน้ำตาล หรือ สีขาวนวล มีความแข็งกว่าสายบัว เวลาที่จะนำมาประกอบอาหาร ต้องนำมาลอกเปลือกนอกออกก่อน เมื่อลอกเปลือกแล้ว จะมีสีน้ำตาลอ่อนอมเขียว เมื่อนำไปผ่านความร้อน จะทำให้นิ่มลง
สรรพคุณของไหลบัว ตามตำรับตำราเก่าก่อนของสมุนไพรไทย ไหลบัวนั้นถือว่าเป็นยาที่มีฤทธิ์เย็น รสจืด ช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลีย และยังบำรุงหัวใจ มีกากใยอาหารในปริมาณที่สูง จึงช่วยแก้อาการโรคท้องผูก
—————————————————————————————————————————
7.ผักแพว เป็นพืชล้มลุก มีลำต้นสูงประมาณหนึ่งฟุต ลำต้นตั้งตรง มีข้อเป็นระยะ หรือ ลำต้นเป็นแบบเลื้อยไปตามพื้นดิน ผักแพวจะเติบโตได้ดีในบริเวณที่ชื้นแฉะ เช่นในบริเวณ ห้วย หนอง คลอง บึง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำ สามารถพบได้ทุกๆภาคของประเทศไทย เนื่องจากเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ
สรรพคุณของผักแพว มีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่หลกหลายชนิด ที่มีสรรพคุณช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย ป้องกันโรคหัวใจ บำรุงประสาท ขับเหงื่อ ช่วยรักษา โรคหวัด โรคปอด โรคหอบหืด ช่วยขับลมในกระเพาะอาหารแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ เป็นยาขับลมอย่างอ่อนๆ และยังแก้อาการปวดเมื่อยตามเนื้อตัว
—————————————————————————————————————————
8.ใบยอ ต้นยอใยภาษามลายูเรียกว่า เมอกาดู เป็นไม้ยืนต้น ผิวเปลือกของต้นมีความเรียบ ในส่วนของใบ จะมีขนาดใหญ่ รูปร่างของใบค่อนข้างธรรมดา แต่เส้นใบลึกชัดเจน ใบมีสีเขียวเข้ม และ มีลักษณะผิวเป็นมัน
สรรพคุณของใบยอ ช่วยบำรุงร่างกาย แก้ปวดท้อง ท้องร่วง มีสารต้านอนุมูนอิสระ สามารถนำมาประกอบอาหารได้มากมายหลายอย่าง มีข้อแนะนำเพิ่มเติมคือ ก่อนที่จะนำมาประกอบอาหาร ควรจะตัดเส้นกลางใบออกให้หมดก่อน เสร็จแล้วค่อยนำมาใช้ปรุง เพื่อที่จะได้ช่วยลดความขมของใบยอ ทำให้รสของอาหารดีขึ้น
—————————————————————————————————————————
9.ใบย่านาง จัดอยู่ในวงศ์บอระเพ็ด เป็นไม้เลื้อย ลำต้นต้นมีเถากลมเล็ก ยาว 5 ถึง 10 เมตร ส่วนของใบ มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว ทรงไข่ ขอบขนาน ปลายใบเรียว ฐานใบมน แตกออกข้างลำต้นแบบสลับกันคนละข้าง ขอบใบเรียบ ผิวมีความมันและเป็นคลื่นเล็กน้อย สีเขียวอ่อนออกเหลือง จนไปถึง สีเขียวแก่ ตามอายุของใบ
สรรพคุณย่านาง ในแถบภาคอีสานนิยมใช้ใบย่านาง มาประกอบอาหารได้สารพัดอย่าง สารในใบย่านางมีฤทธิ์ต้านกรดยูริค ช่วยบรรเทาอาการร้อนใน เป็นไข้ ตัวร้อน ไข้รากสาด ไข้ฝีดาษ และ ช่วยในการถอนพิษต่างๆ โดยสามารถนำมาต้มน้ำดื่ม บดคั้นสดๆ และเอาใบมาตากแห้ง แล้วนำมาบดใส่แคปซูลเพื่อรับประทาน
—————————————————————————————————————————
10.หัวปลี ปลูกด้วยหน่อใบแคบ หรือ ต้นพันธุ์ ที่ได้รับมาจากการเพาะปลูกเลี้ยงเนื้อเยื่อ หลังจากปลูกกล้วยไปแล้ว พอเจริญเติบโตได้สักประมาณ 6 เดือน ก็จะมีหน่อกล้วย แตกตัวออกมา พร้อมกับต้นแม่ราวๆสี่ถึงห้าหน่อ หลังจากนั้นจนถึงอายุประมาณ 8 เดือน ลำต้นจะใหญ่พอที่จะออกปลีได้ แล้วกล้วยก็จะแทงปลีออกมา
สรรพคุณของหัวปลี มีอยู่หลายอย่าง เช่น บำรุงน้ำนมของหญิงที่กำลังมีบุตร แล้วยังมีธาตุเหล็กอยู่ในปริมาณมาก และเมื่อเร็ว ๆ นี้ ก็มีผลวิจัยออกมาว่าหัวปลีนั้น ยังช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร ได้อีกด้วย การทดลองพบว่า สารสกัดหัวปลีสามารถป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้มากราว 47.88 ถึง 87.63 %
—————————————————————————————————————————
credit data
http://dodeden.com/101728.html
http://health.haijai.com/3338/
https://en.wikipedia.org
http://puechkaset.com
http://www.bedo.or.th
https://medthai.com
—————————————————————————————————————————
credit image
https://sharelnw.com
https://www.samunpri.com
http://www.komchadluek.net
https://www.nanagarden.com
http://oknation.nationtv.tv/blog/warnwarn
http://drelen.com.au/gut-health/molecular-hydrogen-antioxidant
—————————————————————————————————————————