ในคัมภีร์จูฬคันถวงศ์ (ประวัติย่อคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา) ที่เป็นคัมภีร์ที่รวบรวม สารบัญคัมภีร์ทางพุทธศาสนา ซึ่งแต่งขึ้นในประเทศพม่า ช่วงเวลาราวพุทธศตวรรษที่ 24 ได้กล่าวไว้ว่า “พระพุทธพจน์ทั้งหมดนั้น มีวิมุตติรสเป็นเหตุ จึงจัดเป็นอย่างเดียวเท่านั้น .และว่าโดยปิฎก ก็จัดเป็น 3 อย่าง”
มีหมายความว่า คำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม ล้วนแต่มีเป้าหมายเดียวกัน นั่นคือ การนำเราให้ถึงการหลุดพ้นจากความทุกข์ แม้จะมีเป้าหมายเดียวกันทั้งหมด แต่ก็ยังสามารถจัดออกเป็นหมวดหมู่ ได้ถึง 3 หมวด ดังในพระไตรปิฏก ซึ่งทั้ง 3 หมวด ต่างก็ล้วนสอนวิธีไปสู่การพ้นทุกข์แบบต่างๆ แต่ในสุดท้ายแล้ว ก็จะนำพาไปถึงวิมุตติเหมือนกันได้ทั้งหมด วิมุตติมี 3 ประการคือ
===========================================================================
1. ตทังควิมุตติ คือ.การพ้นไปจากอำนาจของ “ตัวกู-ของกู” ด้วยอำนาจของสิ่งบังเอิญ.อย่างประจวบเหมาะ
2. วิกขัมภนวิมุตติ คือความดับแห่ง “ตัวกู” ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจของการประพฤติ หรือ การกระทำทางจิต คือ เมื่อได้มีการกระทำจิต. ให้ติดอยู่กับอารมณ์ของสมาธิ. อย่างใดอย่างหนึ่ง. ตามแบบของการทำสมาธิ
3. สมุจเฉทวิมุตติ คือ.ความดับ “ตัวกู” ด้วยการกระทำทางปัญญา คือ.การทำลายทุกอวิชชาลงอย่างสิ้นเชิง
===========================================================================
เปรียบเทียบได้ว่า อย่างแรกนั้น ก็คือ อาศัยอำนาจของการประจวบเหมาะ อย่างที่สอง หรือ อย่างกลางนั้น อาศัยอำนาจของจิต ที่มีการปฏิบัติอย่างถูกวิธี ส่วนอย่างที่สามหรืออย่างสูงนั้น ต้องอาศัยอำนาจของปัญญา
===========================================================================
Data >> www.facebook.com/buddhisttreasure/ Photo >> https://en.wikipedia.org/wiki/Bodh_Gaya
===========================================================================