Footpath อ่านว่า ฟุตปาธ เป็นการออกเสียงทับศัพท์ แปลได้ใจความว่า ทางเท้า แต่ภาษาราชการของเรา กำหนดให้ใช้คำว่า บาทวิถี ซึ่งมีความหมายเดียวกัน (คำว่า บาท หมายถึง เท้า // วิถี หมายถึง สาย แนว ถนน ทาง)
แต่ถ้ายังไม่ค่อยเข้าใจคำๆนี้สักเท่าไร ผมลองจะพรรณนาให้อ่านกัน เผื่อจะได้ใจความ และ ความหมายที่ลึกซึ้งกินใจ จะได้ไม่ลืมเลือน ไปจากความทรงจำ ของคุณผู้อ่านที่น่ารัก // ทางเท้า ก็คือ ทางที่สร้างไว้ เพื่อเป็นพื้นที่ สำหรับคนสัญจรไปมา โดยมากจะยกระดับ ให้สูงกว่า ท้องถนน หรือ ผิวจราจร เพื่อความสะดวก ในการเดินไปมาของผู้คน
ในเมืองไทย โดยเฉพาะกรุงเทพแล้ว ทางเท้าของเรา ค่อนข้างจะมีความหลากหลาย (ซึ่งมีเพียงไม่กี่แห่งบนโลกมนุษย์) นอกจากจะมีไว้ให้คนเดินแล้ว ยังมีพ่อค้าแม่ค้า หาบเร่ แผงลอย รถเข็น ที่รังควานความสงบเรียบร้อย แถมยังสร้างมลภาวะ ไม่ว่าจะเป็นเศษอาหาร และ คราบไขมันต่างๆ ทำให้ท่อระบายน้ำอุดตัน จนส่งกลิ่นเหม็น ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคชั้นดี จนสื่อต่างชาติให้ความชื่นชม และ ยกย่องสรรเสริญ
แล้วที่ขาดไม่ได้เลยคือ รถจักรยานยนต์ ทั้งขับขี่หวาดเสียว ส่งควันพิษจากท่อไอเสีย และ กดแตรไล่ผู้คนที่สัญจร ถ้าหากเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ไม่คิดจะปรับปรุง คาดว่าในอีกไม่ช้า สถาบันการศึกษา ตลอดจนบุคลากรจากภาครัฐ ที่มีส่วนเกี่ยงข้อง ทั่วทั้งโลกคงตื่นตัว และ ให้ความสำคัญ จนต้องเดินทางมาทำวิจัย เพื่อเป็นกรณีศึกษา ในเชิงพัฒนาศักยภาพของฟุตปาธ และ ยกระดับจิตวิญญาณของ เจ้าหน้าที่บ้านเมือง ในประเทศของตนเอง
ภาพทั้งหมดคือ ฟุตปาธที่เมืองการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย จากเพจ facebook.com/thailandfootpath