พริกชี้ฟ้า มีชื่อในทางวิทยาศาสตร์ว่า Capsicum annuum Linn. Var acuminatum Fingerh. จัดเป็นพืชวงศ์ Solanaceae และมีชื่อพื้นเมืองตามแต่ละท้องถิ่น เช่น พริกชี้ฟ้า พริกมัน พริกเดือยไก่ พริกแล้ง พริกบางช้าง พริกซ่อม พริกนก พริกขี้นก ดีปลีขี้นก ปะแกว หมักเพ็ด พริกแกว พริกยักษ์ พริกหวาน พริกฝรั่ง พริกหลวง พริกแม้ว พริกกะเหรี่ยง พริกหัวเรือ พริกห้วยสีทน พริกสันป่าตอง พริกภูเรือ และพริกแจว เป็นต้น
ข้อมูลในทางเภสัชวิทยาได้พบว่า พริกชี้ฟ้ามีสารประกอบสำคัญที่พบในบริเวณไส้ของผลพริก คือ “แคปไซซิน” (Capsaicin) ซึ่งทำให้พริกมีมีกลิ่นฉุนและรสเผ็ดร้อน สารชนิดนี้สามารถยับยั้งการขนส่งน้ำตาลกลูโคสผ่านลำไส้ได้ จึงส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในร่างกายลดลง ส่วนสารสำคัญที่ทำให้พริกมีสีแดง คือ แคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ซึ่งประกอบไปด้วย สารแคโรทีน (Carotene) , แคปซันทิน (Capsanthin) , แคปซารูบิน (Capsarubin) , ลูทีโอลิน (Luteolin) ส่วนในเมล็ด พบสารโซลานีน (Solanine) และโซลานิดีน (Solanidine)
พริกมีสารอาหารอีกมากมาย เช่น.. ไขมัน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินซี แคลเซียม ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส นอกจากนี้แล้ว ยังได้มีการทดลองในห้องวิจัยทางวิทยาศาสตร์แล้ว ผลปรากฎออกมาว่า น้ำสกัดจากผลพริกสามารถลด fasting blood glucose แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของยาที่ให้ และ การให้สารสกัดทางปากก็สามารถลด intracardiac glucose tolerance curve และเมื่อทำการแยกสาร Capsaicin มาทดลอง ก็พบว่าสารนี้มีผลยับยั้งการขนส่งกลูโคสผ่านลำไส้ ซึ่งอาจเกิดจากการสลายกลูโคสเป็นกรดแลกติกหรือมีผลยับยั้งต่อ ATPase-dependent sodium pump
================================= CREDITS =================================
https://en.wikipedia.org/wiki/Cayenne_pepper
https://medthai.com/พริกชี้ฟ้า/#สรรพคุณของพริกชี้ฟ้า
https://fv.lnwfile.com/_/fv/_raw/7j/l/9/zc.jpg
https://www.commodityonline.com/uploads/news//2018/02.9474.jpg
https://content.jdmagicbox.com/comp/karimnagar/rahul-red-chill-powder-veab1.jpg
===========================================================================
———————————————————