สภาวะความตึงเครียด มักจะเกิดขึ้นในยามที่เรามี ความรู้สึกที่เป็นลบ ดังนั้นการทำ “thought record” เพื่อ หน่วงความรู้สึก โดยการแยกแยะให้เป็นเหตุเป็นผล จึงเป็นการกลั่นความต้องการที่แท้จริง โดยปราศจากอารมณ์ การปฏิบัติเช่นนี้ต้องอาศัยการฝึกฝน ให้เกิดเป็นความเคยชิน ดังนั้น จึงต้องทำการบ้านให้หนัก เพื่อสร้างพลังบวกในลำดับชั้นทางความคิด
ทฤษฎี “thought record” ถูกริเริ่มขึ้นมาในปี ค.ศ. 1995 โดย Dr. Christine Padesky ในระยะแรกนั้น เขาต้องการเพียงลดความสับสนของ ของความคิด ผ่านการไตร่ตรอง โดยให้คนไข้ค่อยๆผ่อนคลาย แล้วเฝ้าสังเกตความรู้สึกของตัวเอง ว่าแท้จริงแล้วต้องการอะไรกันแน่ แล้วจะมีประโยชน์อะไร กับการกดดันตัวเอง ให้รู้สึกย่ำแย่ จนไม่สามารถปะติดปะต่อเหตุผล จนหาทางออกที่ถูกที่ควรได้
<<<<<<<<<<<< หลักการสำคัญหลักๆ มีอยู่ 4 วิธี ดังต่อไปนี้ >>>>>>>>>>>>
1. พยายามยับยั้งความคิดลบ แล้วลงมือจดบันทึกลงในกระดาษ หรือ สมุดโน้ต ก็จะสามารถที่จะช่วยทำให้เราเห็นความคิด เหตุผล ข้อโต้แย้ง ที่จะนำไปสู่อารมณ์ทางลบ หรือ automatic thoughts ของตน ได้ชัดเจนขึ้น
2. อย่าเพิ่งรีบเชื่อความคิด ที่กำลังเกิดขึ้น ในขณะที่มีความรู้สึกเชิงลบ ให้ลองพยายามทบทวนและตรวจทาน แนวความคิด โดยการหาหลักฐานที่สนับสนุน และคัดค้าน ความคิดนั้นก่อน แล้วค่อยๆประมวลหาทางออกอีกที
3. เมื่อได้ทำการแยกย่อย ในการจดบันทึกแล้ว จะทำให้เรามองเห็นภาพรวมดีขึ้น การประพฤติเช่นนี้บ่อยๆ จะทำให้ได้ฉุกคิดจนติดเป็นนิสัย และ นำไปสู่การกำจัดอารมณ์ลบ เพื่อผลที่ดีขึ้น รวดเร็วขึ้น โดยมีประสิทธิภาพ
4. ในหลักข้อสุดท้าย เมื่อเราได้ทางออกแล้ว ก็จะสามารถเกิดกระบวนการความคิดใหม่ๆ ที่ดีขึ้น แล้วความคิดใหม่ๆที่ดีนี้ จะช่วยทำให้อารมณ์ลบลางเลือนลง จนนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างแท้จริง โดยปราศจากคติด้านลบ
เป้าหมายคือการหาวิธีการในการ cope กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่ distress เท่าเดิม แต่ก็ไม่ใช่ การพยายามคิดบวก โดยไม่อยู่บนหลักฐานข้อมูลที่มีจริงนั่นเอง การทำ thought record อาจจะจดลงตารางกระดาษ หรือ จะจดบันทึกลง app ในโทรศัพท์ก็แล้วแต่จะสะดวก
resource >>>> www.facebook.com/sooksuksa/posts/797245810473908
photo credit >>>> https://www.adsoftheworld.com/media/print/maze_4/