ประเทศไทยเรา จังหวัดลำพูนถือได้ว่า เป็นจังหวัดที่ปลูกลำไย จำนวนมากที่สุด ส่วนสายพันธุ์ที่นิยมปลูก มีอยู่ราวๆ 6สายพันธุ์ ได้แก่ ลำไยกะโหลก ลำไยกระดูก ลำไยสายน้ำผึ้ง ลำไยเถา ลำไยขาว และ ลำไยธรรมดา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร : Plantae
หมวด : Magnoliophyta
ชั้น : Magnoliopsida
อันดับ : Sapindales
วงศ์ : Sapindaceae
สกุล : Dimocarpus
สปีชีส์ : D. longan
สารเคมีที่พบ
ลำไย มีส่วนประกอบของวิตามิน และ แร่ธาตุต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ส่วนคุณค่าทางโภชนาการ จากลำไย100กรัม จะให้สารอาหารดังนี้ พลังงาน 60 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรต 15.14 กรัม กากใยอาหาร 1.1 กรัม ไขมัน 0.12 กรัม โปรตีน 1.31 กรัม วิตามินบีหนึ่ง 0.031 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.14 มิลลิกรัม วิตามินบีสาม 0.3 มิลลิกรัม วิตามินซี 84 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.13 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 21 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 266 มิลลิกรัม แคลเซียม 1 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม แมงกานีส 0.052 มิลลิกรัม สังกะสี 0.05 มิลลิกรัม
สรรพคุณ
ใบ : มีคุณสมบัติเป็นกลาง รสหวาน จืด ช่วยในการแก้หวัด โรคมาลาเรีย ริดสีดวงทวาร
เนื้อ : ฤทธิ์ร้อน รสหวาน บรรเทาอาการนอนไม่หลับ ขี้ลืม ใจสั่น และ ช่วยบำรุงร่างกาย
เปลือก : มีคุณสมบัติร้อน รสหวาน แก้มึนหัว ทำให้ตาสว่าง
เมล็ด : รสฝาด มีสรรพคุณ ห้ามเลือด แก้ปวด รักษาเกลื้อน
ดอก : บรรเทาอาการปวดปัสสาวะ และ สามารถช่วยขับนิ่ว
ข้อควรระวัง
ไม่ควรรับประทานลำไยมากเกินไป เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการร้อนใน ทำให้อาจมีแผลในช่องปาก ตาแฉะ ในส่วน ผู้ที่มีอาการท้องเสีย อาหารไม่ย่อย ท้องอืดท้องเฟ้อ ส่วนผู้ที่เป็นหวัด เจ็บคอ ต่อมทอนซินอักเสบ หรือ มีแผลอักเสบ ที่เป็นหนอง ก็ไม่ควรรับประทานลำไย เช่นกัน
————————————————————————
data credit >> www.facebook.com/chivaarokhaya
photo credit >> http://www.freshplaza.com
————————————————————————