เกลือ มีโซเดียมคลอไรด์เป็นส่วนประกอบหลัก เกลือจากธรรมชาติ เกิดจากการก่อตัวเป็น แร่ผลึก สามารถพบได้ในทะเล ซึ่งมีปริมาณมหาศาล สำหรับเรื่องอาหารของมนุษย์ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ เกลือถือเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตทั้งคนและสัตว์ ตามปกติแล้ว เนื้อเยื่อสัตว์ จะมีส่วนประกอบของเกลือ ในปริมาณที่เข้มข้นกว่าเนื้อเยื่อของพืช จึงไม่แปลกเลยที่ ‘ความเค็ม’ คือการรับรู้รสชาติพื้นฐานดั้งเดิมของมนุษย์ เกลือถือเป็นหนึ่งในเครื่องปรุงรสที่เก่าแก่ที่สุด.และหาได้ง่ายที่สุด ดังนั้นการดองเค็มจึงเป็น.วิธีการถนอมอาหารที่เก่าแก่ที่สุด
หากย้อนกลับไปเมื่อ 6 ล้านปีที่แล้ว หลักฐานการทำเกลือยุคแรก ถูกพบในประเทศโรมาเนีย มีการค้นพบว่า ชาวโรมาเนียต้มน้ำเพื่อสกัดเกลือ และยังพบอีกว่า การทำนาเกลือในจีน ก็เกิดขึ้นในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน แร่เกลือถูกชาวฮีบรู กรีก โรมัน ไบแซนไทน์ ฮิไทต์ และอียิปต์ ตีมูลล่าสูง เกลือจึงได้กลายเป็นวัตถุสำคัญ ทางการค้า โดยมีการขนส่งทางเรือผ่านแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และยังมีการขนส่งด้วยคาราวานอูฐ ผ่านทะเลทรายซาฮารา ภาวะการขาดแคลน เพราะความต้องการเกลือจากทั่วโลก นำมาสู่ การเปิดสงครามแย่งชิงเกลือ และ.มีการใช้เกลือเพื่อเพิ่มภาษีเงินได้ เกลือยังถูกใช้ในพิธีทางศาสนา จากวัฒนธรรมต่างๆ อีกด้วย
ประเภทของเกลือ
1) เกลือสินเธาว์ (Rock Salt) ได้มาจากการสูบน้ำเค็มขึ้นจากใต้ดิน หรือ การอัดน้ำลงไปใต้ดินที่มีหินเกลืออยู่เพื่อทำละลาย แล้วจึงสูบขึ้นมาต้มหรือว่าเคี่ยวให้แห้ง จนเป็นเกล็ดเล็กๆ เกลือสินเธาว์สามารถพบเห็นได้ตามท้องตลาดทั่วไป ที่บรรจุเป็นถุงเล็กๆ แต่เกลือสินเธาว์นี้ ไม่ได้มีแร่ไอโอดีนอยู่ในตัว จึงไม่เหมาะแก่การบริโภค หากจะใช้ทำอาหาร มักใช้ในรูปแบบที่ต้องใช้เกลือปริมาณมากๆ เช่น.การพอกก่อนนำไปอบหรือย่าง
2) เกลือสมุทร (Sea Salt) นั้นได้จากวิธี การนำน้ำทะเลขึ้นมาพัก แล้วตากแดดให้น้ำระเหยออกไปจนเหลือเพียงผลึกสีขาว ซึ่งจะผลิตได้แค่ในฤดูร้อนเท่านั้น จึงทำให้เกลือชนิดนี้ ไม่สามารถผลิตในปริมาณที่แน่นอนส่งผลให้ราคาอาจมีการปรับตัวสูงขึ้น จากความต้องการของตลาด ในเกลือสมุทรจะมีไอโอดีนตามธรรมชาติ
3) เกลือนำเข้าจากต่างประเทศ (Imported Salt) เป็นเกลือที่ไม่ได้ถูกผลิตขึ้นในประเทศไทย จะมีเฉพาะในต่างประเทศ จึงต้องนำเข้ามา ความแตกต่างจะเป็นรสชาติความเค็ม และสี ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของแต่ละภูมิภาคในประเทศนั้นๆ โดยมากแล้ว.มักเป็นเกลือที่ให้รสชาติเฉพาะตัว จึงไม่สามารถผลิตได้จากที่อื่น
4) เกลือที่ผ่านการปรุงแต่งกลิ่น (Flavoured Salt) ที่จริงแล้วก็คือเกลือปกติ ที่ถูกนำมาปรุงแต่งให้มีสี หรือ รสชาติที่หลากหลายจากเดิม เพื่อความต้องการของผู้บริโภค เช่น กลิ่นเห็ดทรัฟเฟิล กลิ่นกระเทียม กลิ่นผงกะหรี่ และ กลิ่นวานิลลา ซึ่งเกลือประเภทนี้. สามารถทำขึ้นได้เอง ด้วยกรรมวิธีที่ไม่ได้ซับซ้อนอะไรเลยด้วย
ชนิดของเกลือ
1. เกลือโคเชอร์ (Kosher Salt) นิยมใช้ในการทำอาหาร ถึงจะมีขนาดของเกล็ดที่ใหญ่กว่าเกลือธรรมดาๆ แต่มีคุณสมบัติที่ละลายได้ค่อนจะข้างเร็ว สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยชิน อาจจะต้องระมัดระวัง ในเรื่องปริมาณการใส่มักนิยมนำมาโรยหน้าของอาหาร ที่เพิ่งปรุงเสร็จ เช่น. เนื้อสัตว์อบ หัวหอมทอด มันฝรั่งทอด หรือ ป๊อปคอร์น
2. เกลือบริโภค (Table Salt) คงไม่มีใครที่จะไม่รู้จัก เพราะนี่คือเกลือ ที่เราใช้ปรุงอาหารกันในครัวเรือนมาโดยตลอด บางผู้ผลิต ก็มีการเสริมไอโอดีนลงไป เพื่อป้องกันการเกิดโรคคอหอยพอก และ อาจยังมีการใส่ สารป้องกันการจับตัวรวมกัน ลงไปอีกด้วย.ทั้งนี้เพื่อป้องกันการดูดน้ำเข้าไป จนทำให้เกลือจับตัวกันเป็นก้อน
3. เกลือหิมาลายันสีชมพู (Himalayan Pink Salt) มีทั้งผลึกสีขาวใส ไปจนถึงสีชมพูเข้ม ซึ่งเกิดจากธาตุเหล็ก ส่วนเฉดสีที่ต่างกันนั้นก็ขึ้นอยู่กับแร่ธาตุอื่นๆ ที่ปะปนอยู่ในสารประกอบ เกลือชนิดนี้มีแร่ธาตุที่คนเราต้องการมากถึง แปดสิบกว่าชนิด เกลือหิมาลายัน มักนิยมนำมาปรุงอาหารหรือโรยอาหาร ที่เพิ่งจะปรุงเสร็จ เพื่อช่วยปรุงแต่งรสให้อร่อยขึ้น กลมกล่อมขึ้น และมีกลิ่นเฉพาะที่ชัดเจนขึ้น มักจะนำไปกินคู่กับ ..พวกสเต๊ก
4. เกลือลาวา (Hawaiian Black Lava Salt) เป็นเกลือที่ได้จากการ เติมผงถ่านจากกะลามะพร้าว ลงไป ทำให้เม็ดเกลือมีสีดำเป็นธรรมชาติ โดยมีความเชื่อว่า ผงถ่านจะช่วยกำจัดและต่อต้านสารพิษ ที่ตกค้างอยู่ในร่างกายได้ มีลักษณะเป็นเกล็ดขนาดเล็ก รสเค็มกำลังดี นิยมใช้โรยอาหารประเภททอด ย่าง และ.ผักสลัด
5. เกลือหมักดอง (Pickling Salt) หากพิจารณาเพียงแค่ผิวเผิน ก็จะเป็นเกลือที่มีลักษณะที่ดูคล้ายคลึงกันกับเกลือบริโภคทั่วไป แต่มีเกล็ดที่ใหญ่กว่าเพียงแค่เล็กน้อย และให้รสชาติที่เค็มมากกว่า ดังนั้นจึงไม่ได้รับความนิยมในการปรุงอาหารนัก จึงมักใช้เกลือชนิดนี้ในการถนอมอาหารประเภทต่างๆ เช่น การดองผักผลไม้
6. ดอกเกลือ (Flower of Salt) นำมาจากเกลือที่ลอยอยู่บนผิวหน้าของน้ำทะเลในนาเกลือ ซึ่งถือว่ามีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าเกลือปกติทั่วไป แต่ว่าดอกเกลือตามธรรมชาติ มักจะมีในปริมาณที่น้อย เพราะต้องอาศัยจังหวะและเวลาที่เหมาะสม ส่วนใหญ่มักจะนำไปโรยอาหาร ใช้จิ้มกับผักผลไม้ หรือนำไปทำขนมหวานก็ได้
7. เกลือรมควัน (Smoked salt) คือเกลือปกติที่นำไปผ่านกระบวนการผลิต ด้วยการนำเกลือทะเลมารมควันกับไม้ชนิดต่างๆที่ต้องการ ทั่วไปจะใช้เวลารมควันเกลือนาน 2 สัปดาห์ ไม้ที่นิยมใช้จะเป็น ไม้แอ๊ปเปิ้ล หรือไม้โอ้ก เกลือชนิดนี้มักไปใช้กับอาหารที่ผ่านการรมควันมา ก็เพื่อเพิ่มกลิ่นรสของอาหารให้เด่นชัดมากยิ่งขึ้น
8. เกลือทะเลเซลติก (Celtic Sea Salt) จากลักษณะภายนอก เกล็ดจะหยาบกว่า และมีสีออกเทา หรือในบางประเทศจะเรียกเกลือชนิดนี้ว่า Grey salt ซึ่งได้มาจากน้ำทะเลเซลติก ในประเทศฝรั่งเศส โดยไม่ผ่านการฟอกสี สำหรับการผลิตแบบกรรมวิธีโบราณนี้ จะสามารถคงแร่ธาตุสำคัญต่างๆ ที่จำเป็นกับร่างกายของคนเรา ไว้ได้ประมาณเกือบ 80 ชนิด โดยมากเกลือชนิดนี้จะนิยมนำมา.อบกับตัวปลา หรือว่า อบกับเนื้อสัตว์อื่นๆ
===========================================================================
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..………..………
credit >>>>>>>>>>>>>>>>>>>> https://www.wongnai.com/food-tips/types-of-salt
credit >>>>>>>>>>>>>>>>>> https://www.healthline.com/nutrition/sodiumi-day
credit >>>>>>>>>>>>>>> https://www.pholfoodmafia.com/salt.pepperspices.jpg
credit >>>>>>>>>>>> www.healthline.com/hlcmsresource/imagesi/types-of-salt
credit >>>>>>> https://cdn.vox-cdn.com/Nusre/tRestaurant_SaltBae_Nusret.jpg
credit >> https://prods3.imgix.net/S.teak_Tasting_Table_Culinary_Institute.jpg
ป.ล. การบริโภคสิ่งใดก็แล้วแต่ หากมากเกินไป จะทำให้ส่งผลเสียต่อร่างกายของคนเรา เกลือก็เช่นกันครับ
…………………………………………………………………………………………………………