จากการรวบรวมข้อมูล ในเรื่องของทัศนคติคนไทย ที่มีต่อแบรนด์ไทยและแบรนด์ต่างชาติ โดย Y&R BAV? นั้น ได้เปิดเผยข้อมูลออกมาว่า ผู้บริโภคชาวไทย ได้เริ่มมีการเข้าถึงแบรนด์ไทยง่ายยิ่งขึ้น แต่ความเชื่อมั่นของในแบรนด์โดยรวม กลับมีตัวเลขที่ลดลง การแตกแขนงในโลกดิจิทัล ทำให้การสื่อสารเข้าหาผู้ซื้อได้ไว แต่เนื่องจากความเข้มแข็งของแบรนด์นั้นยังมีจุดยืนไม่ชัดเจนพอ ที่จะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
ความไม่ชัดเจนพอของแบรนด์ ถึงแม้ว่าจะทำให้เป็นที่จดจำ แต่ก็ไม่ได้สร้างความศรัทธาพอ จากการสำรวจมีเพียงแค่ 50 ตราสินค้าสัญชาติไทยเท่านั้น ที่มีความแข็งแรงที่สุด ซึ่งมีตัวเลขความเชื่อมั่นถึง 94% ตัวเลขนี้กำลังบอกกับเราว่า คนไทยด้วยกันเองก็ยังไม่ค่อยไว้วางใจ ที่จะใช้สินค้าไทย ถึงแม้ตัวเลขจะยังเป็นรองแบรนด์ต่างประเทศ แต่ก็ไม่ได้ต่ำเกินไปนักที่จะสามารถตามได้ทัน หากเราใส่ใจที่จะพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง
ความแตกต่างด้านมุมมองในตราสินค้าเดียวกัน แต่กลับสร้างแรงดึงดูดในแต่ละกลุ่ม สะท้อนความต้องการในแต่ละเจเนอเรชั่น มีความไม่เหมือนกัน จึงต้องศึกษาความต้องการที่สามารถตอบสนอง ให้ครบรอบด้านภายในแบรนดิ้งเดียว และอย่าไปมองความต้องการของตลาดกรุงเทพฯ เป็นตลาดประเทศไทย เพราะการรวบตึงเช่นนี้ ทำให้เกิดการประเมินผิดพลาดทันที โดยความจริงแล้ว ตลาดกรุงเทพฯมีส่วนแบ่งเพียง 16% จากทั้งหมด แล้วเลข 16 นี้ ก็ค่อนข้างจะอ่อนไหว เพราะถูกปั่นได้ง่าย แนวโน้มส่วนใหญ่.จึงมักเอียงไปที่แบรนด์นอก เนื่องจากค่านิยมในแบรนด์ไทย ไม่แข็งแรงพอ
แต่ตัวเลข 16% ดังกล่าวนี้ โดยมากแล้ว มักจะใช้วิธีจับจ่ายในช่องทางออนไลน์ ด้วยเหตุผลทางสังคมเมือง ที่จะต้องแข่งขันตลอดเวลา หากการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เข้าถึง ก็มีโอกาสที่จะเจาะกลุ่มนี้ได้มากตามขึ้นไปด้วย และในอนาคต การซื้อขายทางออนไลน์จะแผ่ไปทั่วทุกภูมิภาค ดังนั้นหากทำการบ้านอย่างดี ด้วยการศึกษาข้อดีข้อเสียตั้งแต่เนิ่นๆ การรับมือ.ก็คงไม่ล่าช้าจนเกินไปนัก
___________________________________________________________________________________________
data credit and photo credit >>>> https://www.thebangkokinsight.com/
cover credit >>>> https://en.wikipedia.org/wiki/Shopping_cart#/media/
………………………………….