เมื่อปี พ.ศ.2544 องค์การสหประชาชาติ ได้ประเมินเอาไว้ว่า ศตวรรษต่อไป (หมายถึงปัจจุบันนี้) จะเป็นสังคมของผู้สูงอายุ หมายถึง จะมีประชากรที่มีอายุมากกว่า 60ปี ไม่ต่ำกว่า 10% ของประชากรโลก และยังคาดการณ์ เอาไว้ว่าต่อไป จะมีมากขึ้นอีกเรื่อยๆ และ ประชากรเหล่านี้ จะมีฐานะยากจนขึ้น เนื่องจาก ขาดรายได้จากการทำงาน และภาระที่จะต้องใช้ไปกับค่ารักษาพยาบาล ที่คาดไม่ถึง
ผู้สูงอายุ โดยมากเป็นกลุ่มที่มีเวลาค่อนข้างจะว่าง และในจำนวนนี้ มักจะมีกิจกรรมในการอ่าน ซึ่งในขณะเดียวกัน ก็ต้องการการดูแลไปในขณะเดียวกัน เพราะความไม่คล่องตัวด้วยเหตุผลของอายุ และอาการเจ็บป่วยจากโรคประจำตัว ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะปรับตัวในการใช้ห้องสมุด
แต่ในประเทศออสเตรเลีย ได้มีนโยบายที่ชัดเจน เกี่ยวกับห้องสมุดท้องถิ่น ว่าจะต้องมีบริการอะไรบ้าง เพื่อสนับสนุนการอ่านของคนสูงวัย นอกจากออสเตรเลียแล้ว ก็ยังมีประเทศอังกฤษ และ สหรัฐอเมริกา ที่กำลังผลักดัน กฏเกณฑ์ต่างๆของผู้ให้บริการห้องสมุด เพื่อความสอดคล้องและรองรับกับอนาคตอันใกล้นี้ด้วย
ลักษณะหลักๆ ที่ถูกผลักดัน ในด้านก่ารบริการของห้องสมุด ต่อ ผู้สูงอายุ ณ เวลานี้ โดยมากจะเน้น เกี่ยวกับ พื้นที่กิจกรรม บริการด้านสารสนเทศ การรับส่งหนังสือถึงที่บ้าน อุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวก ในบริเวณห้องสมุด การจัดการด้านบุคคล ให้มีความพร้อมและความเข้าอกเข้าใจ เพื่อที่จะบริการผู้สูงอายุ เป็นต้น
สำหรับประเทศไทย ได้มีการสำรวจจาก สำนักงานสถิติแห่งชาติ แล้วพบว่า ประชากรที่อายุมากกว่า 60 ปี ในปัจจุบัน มีมากกว่า10ล้านคน จากสัดส่วนของประชากรทั้งหมดของประเทศราว 70 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ15 และประมาณการณ์เอาไว้ว่า จะมีมากถึงร้อยละ25 ภายในปี พ.ศ. 2573
===========================================================================
photo credit >> https://hips.hearstapps.com/hbu.hcdn.co/assets/cm/16/27/1600×800/land
data credit >> http://www.tkpark.or.th/tha/articles_detail/357/ %E0%B8%AB%E/liblaries
===========================================================================