นับเป็นช่วงกลียุคของธุรกิจการค้าที่ลุกลามไปทั่วโลก แม้แต่ประเทศไทยเองก็ยากจะหลบเลี่ยง กิจการทั้งเล็กใหญ่ต่างก็ทยอยล้มหายตายจาก แม้แต่บริษัทใหญ่ๆ ถ้าไม่ได้ปิดการดำเนินการ ก็เรียกได้ว่าอยู่ในช่วงหืดขึ้นคอ แต่ใช่ว่ามันจะย่ำแย่ไปทั้งหมดทั้งสิ้น หากมีการวิเคราะห์ของพฤติกรรมผู้บริโภคแล้ว ก็ยังพอจะมีช่องทางให้ผู้ประกอบการ ได้วางกลยุทธ์ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับกลุ่มลูกค้า ที่กำลังเริ่มเปลี่ยนแปลงไป
กระแสที่ถูกจับตามองมากที่สุดจากผู้ค้า คือ การบริหารจัดการกับความเหงาเชิงรุก ด้วยการตอบโจทย์ในเชิงพฤติกรรมที่ครอบคลุมผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย เพื่อการสร้างโอกาสในการเข้าถึง ‘กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย’
“การตลาดเพื่อคนเหงา” นับเป็น มาร์เก็ตติ้งเทรนด์ ที่กำลังตื่นตัวอยู่ในต่างประเทศ ณ ขณะนี้ จากสถิติอย่างไม่เป็นทางการได้บอกว่า แนวโน้มของเหล่าบรรดาคนเหงาแห่ง สหราชอาณาจักร ได้มีอัตตาการเจริญเติบโตเพิ่มมากขึ้น จนได้มีการจัดตั้ง กระทรวงความเหงา (Ministry of Loneliness) ขึ้นมา เพื่อเอื้ออำนวยในด้านของ การดูแลสุขภาพ การสันทนาการ และยังมีหน่วยงานที่ให้คำปรึกษากับคนเหงา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความตึงเครียด ฝั่งทางด้าน สหรัฐอเมริกา พบว่า มีสัดส่วนประชากรคนเหงามากถึง 75% ซึ่งทาง ม.คาลิฟอร์เนีย ระบุว่ากลุ่ม Gen Z ที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 22 ปี เป็นกลุ่มที่ประสบภาวะเหงาสูงที่สุด
กลับมาที่ประเทศไทยเรา ก็ได้มีการเก็บสำรวจข้อมูลจากทาง วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ในหัวข้อ “การตลาดคนเหงาในประเทศไทย” เพื่อทำการวิจัยเทรนด์การตลาด “Lonely in the Deep : เจาะลึกตลาดคนเหงา” ซึ่งนับเป็นครั้งแรก ที่ได้ศึกษาด้านประชากรศาสตร์และพฤติกรรม จะได้นำมาต่อยอดการปรับตัวเชิงธุรกิจด้านกลยุทธ์ “โลนลี่มาร์เก็ต” ที่ยังถือเป็น.. กลยุทธ์น่านน้ำสีคราม
กิจกรรมของคนเหงา หลักๆแล้วจะมีพฤติกรรมเริ่มแรก 3 ประเภท ได้แก่
ใช้โซเชียลมีเดีย ที่แรกซึ่งเข้าถึงง่าย สามารถสร้างความรู้สึกร่วมกับสังคมออนไลน์ ได้ทุกที่ ทุกเวลา เป็นวิธีที่ใช้แก้เหงาโดยที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด รับประทานอาหารนอกสถานที่ เป็นกิจกรรมที่อาศัยผู้คนอยู่รอบตัว ให้ช่วยลดบรรยากาศและความรู้สึกโดดเดี่ยว ช้อปปิ้ง ถือเป็นการตอบสนองความต้องการทางความรู้สึกได้ดี.ทำให้ลดคลายความตึงเครียด เป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดการพูดคุยกับผู้ขายเพื่อจะได้เลือกซื้อสินค้า
กลยุทธ์ที่มัดใจคนเหงามี 4 ประการ เป็นกุญแจสำคัญ ที่ไม่ควรมองข้าม
C : circumstance สร้างบรรยากาศรอบตัว กลุ่มคนที่เหงา มักต้องการคนมาเข้าใจ และก็ไม่อยากรู้สึกว่าอยู่ลำพัง ดังนั้นผลิตภัณฑ์และบริการเช่น ธุรกิจร้านค้า ร้านอาหาร ต้องรู้จักการจัดพื้นที่พิเศษเพื่อคนเหงา
C : companion สื่อสารเหมือนเพื่อน จากสถิติพบว่า 44.3% ของกลุ่มผู้มีภาวะความเหงา มักจะติดการใช้โซเชียลมีเดียตลอดเวลา การทำการตลาดจึงควรใช้การสื่อสาร โปรโมต และสร้างกิจกรรมปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายผ่านโซเชียลมีเดีย โดยการปรับรูปแบบที่ใช้เพื่อการสื่อสาร.ให้ดูมีความเป็นมิตรอยู่ตลอดเวลา
F : forget me not ไม่ลืมกลุ่มคนเหงา นักการตลาดที่ดี จะต้องไม่ลืมการส่งเสริมการตลาดพิเศษ ไว้รองรับกลุ่มคนเหงา เช่น โปรโมชั่นพิเศษช่วงฤดูกาล หรือเทศกาลต่างๆ สำหรับคนเดียว ไม่ใช่จัดเฉพาะโปรโมชั่นสำหรับกลุ่มเท่านั้น นอกจากจะขยายฐานลูกค้าเพิ่มได้แล้ว ยังทำให้กลุ่มเป้าหมาย ไม่รู้สึกถูกทอดทิ้ง
C : community ส่งเสริมกิจกรรมร่วม ผลิตคอนเทนท์ ผลิตภัณฑ์ บริการ และกิจกรรมการตลาด ที่แตกต่างจากตลาดเดียวกัน เน้นการก่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กับเป้าหมาย.และจับกลุ่ม เพื่อสร้างเป็นชุมชนพิเศษ
======================================================================================================================================================
credit >> https://positioningmag.com/1228902?fbclid=IwAR0tP__bHWH2sjxy4wtUCIQr7Man9tKhP3Wukp9OtbMCvpIIXCe3r5BCZLY
credit >> http://2.bp.blogspot.com/-ixMQLqnnf5M/VOV0_dtJ4NI/AAAAAAAABaQ/LZnj55F_udM/s1600/50%2BShade.BGrey%2B(2).jpg
credit >> https://www.videoblocks.com/video/upl.silhouette-of-lonely-man-admire-view-sitting-on-bed-at-home-sp4eex0peiyln3wij