การเข้าใจผู้สูงอายุ ทุกวันนี้เรานั้น ได้เข้าสู่ยุคของผู้สูงวัยมากกันมากขึ้น เนื่องมาจากว่าประชากรยุคใหม่หรือเด็กที่เกิดมาใหม่นั้นมีจำนวนน้อยลงแต่จำนวนประชากรของผู้สูงวัยกลับมีจำนวนมากขึ้น เนื่องมาจากว่าปัจจุบันเรานั้นได้มีการพัฒนาเมคโนโลยีด้านการแพทย์ที่ก้าวไกลและทันสมัยมากขึ้นจะ ทำให้เราสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บและจากการรักษาตัวจากอุบัติเหตุก็หายและยืดชีวิตออกมาได้ และนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราพบเห็นผู้สูงวัยในสังคมเป็นส่วนใหญ่นั้นเอง
จากการที่มีประชากรผู้สูงวัยหรือผู้สูงอายุมีมากขึ้น นั้นทำให้แต่ละครอบครัวเริ่มมีการละเลยไม่ใส่ใจผู้สูงวัยเพราะเกิดความรำคาญในเรื่องต่างๆ เช่น การถูกซักถามในเรื่องเดิมซ้ำๆ การถูกบ่นพูดเรื่องเดิมๆ หรือก็คือพวกเขาชอบที่จะทำอะไรซ้ำ เนื่องมาจากสภาพจิตใจของผู้สู้วัยนั้นได้เริ่มย้อนกลับคืนสู่วัยเยาว์หรือก็คือจิตใจเริ่มกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง ทั้งนี้ มิได้หมายความเพียงการอยู่ตามลำพัง ผู้สูงอายุแม้จะอยู่ท่ามกลางลูกหลานมากมาย ก็อาจรู้สึกอ้างว้างได้ ถ้ารู้สึกว่าตนถูกลืม ถูกจำกัดที่อยู่ รู้สึกว่าผลแห่งการต่อสู้มาตลอดชีวิตคือความผิดหวัง วิกฤตการณ์แห่งชีวิตของคนเราเกิดขึ้นได้ 3 ระยะ คือ วัยแรกรุ่น ช่วงของการเปลี่ยนวัย และตอนเกษียณ นั้นดังเราควรจะเข้าใจพวกเขาอย่าได้รำคาญเลยเพราะซัดวันเราก็คงจะแก่ตัวเป็นผู้สูงวัยเมื่อเวลาผ่านไปเช่นเดียวกัน
ในการดูแลผู้สูงวัย นั้น“ผู้สูงอายุ” เป็นกลุ่มวัยที่ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพราะผู้สูงอายุส่วนมากนอกจากจะมีความเสื่อมของร่างกายตามวัย ยังอาจมีโรคเรื้อรังที่ต้องการดูแล
การที่ผู้สูงอายุจะมีสุขภาพแข็งแรงมีอายุยืนยาวอย่างมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้นั้นไม่เพียงแต่การเตรียมความพร้อมหรือการปฏิบัติตัวผู้สูงอายุเองเท่านั้น ลูกหลาน ครอบครัวก็ควรใส่ใจดูแลผู้สูงอายุด้วย
ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี สมาชิกในครอบครัว อันประกอบด้วย ลูกหลาน ฯลฯ ควรปฏิบัติต่อผู้สูงอายุ ดังนี้
1.) ทำให้เขารู้สึกว่าตัวเองสำคัญเพราะผู้สูงวัยมักจะน้อยใจที่ลูกหลานไม่ค่อยพึ่งพา ดังนั้นเราจึงต้องคอย พูดคุยหรือขอคำปรึกษา ให้พวกเขามั่นใจในตัวเองเป็นที่พึ่งพาให้ลูกหลานได้ 2.) ระวังคำพูดคำจากับผู้สูงวัยหรือการกระทำกาลเทศะต่างๆ เพราะพวกเขาจะขี้น้อยใจมากและอาจเสียใจกับคำพูดที่เราพูดไม่คิดและทำร้ายจิตใจของผู้สูงวัยได้ 3.) ชวนผู้สูงอายุเล่าเรื่องเหตุการณ์ประทับใจในอดีตของท่านให้ฟัง และรับฟังอย่างตั้งใจ จะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่า ยังมีคนชื่นชมในบางส่วนของชีวิตของตนอยู่
4.) คอยดูแลความอำนวยสะดวกต่างๆ เช่น ถ้าเขาอยากไปวัดก็ขับรถไปส่งหรือถ้าเขาไปไหนเราก็ต้องตามไปดูแลด้วย
5.) ดูแลเอาใจใส่ในเรื่องอาหารการกินและสุขภาพ เพราะผู้สูงวัยบางท่านก็ไม่สามารถทานได้และด้วยโรคประจำตัวก็ทำให้ต้องดูแล
6.) ที่พักอาศัย ถ้าสูงอายุต้องการแยกบ้านอยู่ หรือต้องการไปอยู่สถานที่ที่รัฐจัดให้ก็ควรตามใจ และพาลูกหลานไปเยี่ยมเมื่อมีโอกาส ผู้สูงวัยจะรู้สึกเป็นสุข และต้องการอยู่ร่วมกับลูกหลาน ก็ให้อยู่บ้านเดียวกัน เพื่อเกิดความรู้สึกอบอุ่น
7.) ให้ผู้สูงวัยได้มีโอกาสพบปะเพื่อนวัยเดียวกัน โดยการพาไปเยี่ยมเยียน หรือเชิญเพื่อนฝูงญาติมิตร มาสังสรรค์ที่บ้านเป็นที่คลายเหงา พาไปสถานที่ที่เป็นศูนย์รวมของผู้สูงอายุ เช่น วัด
8.) เราเป็นเด็กต้องให้ความสำคัญให้ความเคารพกับผู้หลักผู้ใหญ่หรือผู้สูงวัย เชื่อฟังหลักคำสอนและข้อแนะนำจากผู้ท่มีประสบการณ์ผ่านมาแล้ว
9.) เราต้องเข้าใจและให้อภัยในความหลงลืมของผู้สูงวัย และต้องมีความเห็นอกเห็นใจในความผิดพลาดในสิ่งที่พวกเขาได้ทำไป
10.) ช่วยอำนวยความสะนวกและช่วบเหลือพวกเขาในยามเจ็บไข้และเป็นกำลังใจอยู่เคียงข้างเขาเสมอ
หวังว่าทุกท่านจะเข้าใจการดูแลและเข้าใจผู้สูงวัยมากขึ้นนะค่ะ
credit : https://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/07172014-1131
credit : http://paolohospital.com/phahol/health-diabetes/elderly-care/
credit : https://phartrillion.com/elderly-mental-health/