การเสียเขาพระวิหารอันเป็นของผู้คนในแดนที่ราบสูงโคราช ที่แล้วมานั้น ตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็เป็นไปด้วย ความรู้ไม่เท่าทัน และ ตกอยู่ในหลุมพรางของมหาอำนาจ แถมยังกลายเป็นระเบิดเวลา ให้ไทยต้องทะเลาะกับกัมพูชาอย่างไม่มีวันสิ้น ดังนั้น -อเบาท์ลิฟวิ่ง- เลยขออนุญาตฉวยโอกาส คัดลอกบทความเพื่อมานำเสนอข้อคิดเห็นที่อาจเป็นประโยชน์แก่คนที่เป็นปัญญาชนได้คิดและทบทวนดังนี้
เบื้องแรก มหาอำนาจถ่อยๆชาตินั้นในเวลานั้น เข้ามาทำการศึกษาความเป็นมาทางสังคมและวัฒนธรรมของผู้คนในภูมิภาคนี้ ทั้งด้านโบราณคดี [Archaeological past] และ ด้านชาติพันธุ์วรรณา [Ethnography] มาก่อน หลังจากนั้น จึงแสดงอำนาจถ่อยเข้าครอบงำ และ ยึดครองดินแดน ซึ่งทางไทยต้องการหลีกเลี่ยงการยึดครอง ด้วยการพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ ให้ทัดเทียมกับอารยประเทศในแถบตะวันตก เพื่อจะได้เป็นที่ยอมรับ บุคคลชั้นนำของประเทศเรา จึงได้คล้อยไปตาม ความรู้ ความคิดเห็น และ เทคนิควิชาการเพื่อความทันสมัย เลยทำให้เกิด วิชาประวัติศาสตร์โบราณคดี แบบประวัติศาสตร์ศิลปะ ที่มหาอำนาจนั้นขุดหลุมดักไว้
หลุมพรางทางทฤษฎีและทางความคิดเช่นนี้ มันร้ายกาจนัก ตรงที่ทำให้ผู้นำทางปัญญาของไทยเรา ยอมรับว่า ที่ใดก็ตาม ที่มีศาสนสถานวัตถุแบบศิลปะลพบุรี หรือ ศิลปะขอม นั้นคือหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่ากัมพูชาสมัยเมืองพระนคร เคยปกครองดินแดนสยามตั้งแต่ที่ราบสูงโคราช มายังที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยา และภาคกลางมาก่อน ซึ่งความเท็จอันนี้ แปลความได้ว่า บ้านเมืองไทยและคนไทยเคยเป็นขี้ข้าของขอมมาก่อน
หลังจากการยอมรับรู้ ในเรื่องความคิดและทฤษฎีต่างๆแล้ว ก็มาถึงเรื่องเทคนิคที่ฝรั่งถ่อย ใช้เป็นระเบิดเวลาที่จะทำให้ ประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้ ต้องขัดแย้งกันอย่างต่อเนื่อง นั่นก็คือการกำหนดเส้นเขตแดนแบ่งเขต [Border] อย่างเป็นรูปธรรม มีทั้งหลักเขต และ การระบุเส้นรุ้ง เส้นแวง ไว้ในแผนที่ ซึ่งก็ทำให้แผนที่กลายเป็นทั้งหลักฐานและเครื่องมือที่สำคัญ.เพื่อใช้ตกลงกันหรือยืนยันอ้างสิทธิ์ตามกฎหมาย.ที่ฝรั่งเป็นผู้สร้างขึ้น
เรื่องการกำหนดเขตแดนและทำแผนที่เช่นนี้ รัฐบาลไทยสมัย รัชกาลที่ ๕ – รัชกาลที่ ๖ ก็อยากจะเรียนรู้ให้เท่ากับพวกฝรั่ง เพราะมีการศึกษาอบรมสร้างผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญทางแผนที่ ตามแบบฝรั่งกันอยู่ แต่ไม่ค่อยมีการออกไปปฏิบัติสร้างประสบการณ์และการริเริ่ม ผลที่ตามมาก็คือ อาจรู้เท่าฝรั่งได้ แต่ไม่ทัน เพราะในกรณีการกำหนดเขตแดน บนเทือกเขาพนมดงเร็ก โดยเฉพาะบริเวณเขาพระวิหารนั้น ฝรั่งที่เป็นเจ้าของประเทศกัมพูชาสมัยนั้น กำหนดให้ใช้สันปันน้ำ [Watershed] เป็นเส้นแบ่งเขตแดนในปี ค.ศ. ๑๙๐๔ โดยขอให้ทางไทย ส่งผู้แทนและเจ้าหน้าที่ ไปร่วมทำการสำรวจแบ่งเขตแดน ซึ่งก็นับได้ว่ามีความเป็นธรรมดี เพราะการใช้สันปันน้ำอันเป็นธรรมชาตินั้น เป็นสิ่งที่น่าจะยอมรับได้ แต่ทางไทยประมาทและหละหลวม ไม่ส่งผู้แทนและเจ้าหน้าที่ไปร่วมสำรวจและทำแผน จึงปล่อยให้ฝรั่งเจ้าของประเทศเขมรดำเนินการเพียงฝ่ายเดียว
วีรชัย พลาศรัย (9 มิถุนายน พ.ศ. 2503 – 16 มีนาคม พ.ศ. 2562) อดีตเอกอัครราชทูตวิสามัญ ผู้มีอำนาจเต็มประจำสหรัฐอเมริกา อดีตเอกอัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรไทย ประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐฯ อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ อดีตอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ อดีตเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง (เจ้าหน้าที่การทูต 10) สำนักงานปลัดกระทรวงที่สร้างชื่อเสียงในฐานะ ‘หัวหน้าคณะทนายกฎหมายระหว่างประเทศ‘ ในคดีปราสาทพระวิหาร
ระเบิดเวลาเรื่องเขาพระวิหาร บทความโดย ศรีศักร วัลลิโภดม เพื่อระลึกถึง.. ท่านทูตวีรชัย พลาศรัย