สำหรับคนที่ต้องผ่านทางรถไฟอยู่บ่อย ๆ เคยสงสัยกันบ้างหรือไม่ครับว่า.. คนขับรถไฟเขาจะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อไหร่ถึงเวลาที่ต้องออกรถแล้ว หรือเมื่อไหร่ต้องหยุดรถไฟเอาไว้ก่อน เพราะว่าไม้กั้นยังวางไม่เรียบร้อยดี
สำหรับที่เมืองไทย ไฟสัญญาณของเรา จะอยู่บริเวณแผงสี่เหลี่ยมสีเหลืองที่มีกากบาทสีดำคาดไว้และจะมีไฟ 5 ดวง ซึ่งติดตั้งไว้ก่อนถึงทางตัด ระหว่างรางรถไฟ กับถนนหนทาง ประมาณ 50 เมตร
และเมื่อไม้กั้นตรงจุดตัดได้ทำหน้าที่ของมันเรียบร้อยแล้ว ไฟทั้งห้าดวงจะเริ่มกระพริบ เพื่อบอกกับคนที่ขับรถไฟว่า ‘ทางสะดวกแล้วนะ ขับมาได้เลย’ คนขับรถไฟก็จะเริ่มออกรถ หรือ ใช้ความเร็วตามปกติจากที่วิ่งมา เพราะได้รับคำสั่งแล้วว่า ‘ทุกอย่างโอเค’ ทั้งนี้ก็เพื่อพ่อแม่พี่น้องที่โดยสารมาด้วย จะได้ไปถึงจุดหมายซะที!
ในส่วนของทางตัด ที่ไม่มีไม้กั้นนั้น ทั้งที่ถูกกฎหมาย และทางลักผ่าน ที่ไม่มีสัญญาณนี้ นั่นแปลว่าคนขับไฟจะขับไปตามหน้าที่ของเขา ส่วนผู้ที่ใช้ถนนก็ต้องทำหน้าที่ของตนเองด้วย คือหยุดรถดูทางก่อนแล้วค่อยไป
สำหรับบางสถานีที่มีถนนใกล้กับ สัญญาณไฟวาบ (ไฟกระพริบ) ก็ไม่ต้องกลัว แต่ก็ต้องระวัง เพราะตามปกติไฟนี้จะทำงานควบคู่กับสัญญาณไฟจราจร เมื่อถนนกั้นเรียบร้อยดี สัญญาณไฟเขียวของรถไฟก็จะขึ้น พร้อมกับไฟวาบทำงาน เพื่อเป็นบอกว่าถนนได้กั้นเรียบร้อยแล้ว และ อนุญาตให้รถไฟผ่านสัญญาณไฟเขียวไปได้
กรณีที่ไม้กั้นยังไม่ลงแต่รถไฟกำลังวิ่งมา แล้วเราติดอยู่กลางถนน ก็ไม่ต้องกลัวครับ รถไฟจะวิ่งผ่านถนนไม่ได้ถ้าสัญญาณนี้ไม่ทำงาน แต่ทางที่ดีก็ไม่ควรหยุดรถที่กลางทางรถไฟ แม้รถจะติดแค่ไหนก็ควรเว้นระยะไว้