ทวารบาล มาจากคำว่า “ทวาร” แปลว่า ประตู หรือ ช่อง ส่วนคำว่า “บาล” แปลว่า เลี้ยง รักษา ปกครอง เมื่อรวมกัน มีความหมายว่า ผู้รักษาประตู หรือ รักษาช่อง ดังนั้นไม่ว่ารูปเทพเทวดา สัตว์หิมพานต์ อสูร มนุษย์ ใด ๆ ก็ตาม หากมิได้ตั้งอยู่ ณ บริเวณทางเข้าออก ประตู หน้าต่าง หรือช่อง ก็ไม่นับว่าเป็น ทวารบาล
ทวารบาล ถูกพบเป็นครั้งแรกในประเทศอินเดีย ณ เมืองปรรขัม ช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 3 – 6 เป็นรูปยักษ์แกะสลักหินลอยตัว ส่วนทางอินเดียทางตอนใต้นั้น ก็มีการสร้างรูปทวารบาลเป็นรูป มนุษย์นาค คือมีรูปร่างเหมือนมนุษย์แต่มีแผ่พังพานรอบศีรษะ และยังพบการสร้างทวารบาลมนุษย์นาคอยู่ทั่วไป ในประเทศอินเดีย
วัดบวรสถานสุทธาวาส หรือ วัดพระแก้ววังหน้า เป็นวัดในพระราชวังบวรสถานมงคล เช่นเดียวกับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตั้งอยู่ภายในพระบรมมหาราชวัง และด้วยเหตุที่เป็นวัดในวัง จึงไม่ได้มีพระภิกษุจำพรรษา
สร้างขึ้นโดย สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ซึ่งเป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แต่การยังไม่แล้วเสร็จ เพราะว่าพระองค์เสด็จทิวงคตก่อน ต่อมา วัดพระแก้ววังหน้า จึงมาแล้วเสร็จในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ และได้รับพระราชทานนามว่า วัดบวรสถานสุทธาวาส ในปัจจุบัน คือ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป (สนามหลวง)
คติความเชื่อของคนไทยกับทวารบาล แต่เดิมนั้นชาวไทยโบราณเชื่อกันว่า สิ่งที่อยู่นอกเหนือจากธรรมชาติจะมีอำนาจมาก เมื่อมีความคิดกันเช่นนี้ เหล่าทวยเทพจึงสามารถดลบันดาลให้เกิดทุกขภัย ตั้งแต่น้ำท่วม ไฟไหม้ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ฯลฯ แต่ถ้าหากเราให้ความเคารพนับถือแล้ว ทุกขภัยดังกล่าวก็จะได้รับการปกป้องโดยตรงจากเทพ ดังนั้นที่อยู่อาศัยย่อมต้องมีเทพเทวาคอยปกปักรักษา
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
credit >> www.saengdao.com/view.php?menu=menu2&body_detail2&tid=73&type1
credit >>>>>>>>> https://www.facebook.com/literaturegag/posts/1401227633379579
credit >>>>>>>>>>>>> .https://en.wikipedia.org/wiki/Wat_Bowon_Sathan_Sutthawat
credit >> www.facebook.com/nationalmuseumbangkok/photos/a.166542110064690/