ดาวยูเรนัส เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 7 ในระบบสุริยะ ถูกจัดอันดับให้เป็น ดาวเคราะห์แก๊สที่มีความหนาแน่นสูง แต่ข้อมูลล่าสุดที่สำรวจเจอ ในบรรยากาศชั้นนอก ที่มีลักษณะคล้ายกับเมฆที่ปกคลุมอยู่นั้น ประกอบไปด้วยแอมโมเนีย และ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (แก๊สไข่เน่า) ซึ่งเป็นก๊าซที่เป็นพิษ และเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต
การค้นพบในครั้งนี้ เกิดขึ้นบนเกาะฮาวาย โดยการใช้กล้องโทรทรรศน์ Gemini North ซึ่งมีคุณสมบัติ ในการตรวจแสงสะท้อน เพื่อค้นหาธาตุขององค์ประกอบ จากแสงที่ถูกกลืนในแต่ละย่านความถี่ ทำให้สามารถวิเคราะห์ลงไปถึงรายละเอียดที่ต้องการทราบได้ ดังเช่นที่มีการพบ ในชั้นบรรยากาศของดาวยูเรนัสในครั้งนี้
การตรวจจับแก๊สในครั้งนี้ ถ้าหากว่ากันตามเทคนิกแล้ว ไม่ได้ถือเป็นเรื่องใหม่ เพราะด้วยเครื่องมือดังกล่าว สามารถค้นหาการดูดซับคลื่นแสง ที่มาจากดาวเคราะห์ ซึ่งอยู่ห่างจากโลกมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 20 เท่าถึงแม้จะดูเป็นเรื่องเหลือเชื่อ แต่นี่เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นแล้ว โดย กล้องขนาด 8 เมตร ที่ติดตั้งอยู่ที่ฮาวายของ Gemini Observatory ร่วมกับ .อุปกรณ์ที่มีชื่อว่า Near-Infrared Integral Field Spectrometer
การพบในครั้งนี้ ทำให้เกิดข้อสงสัยขึ้นมามากมาย และคำถามที่สำคัญก็คือ เพราะอะไรดาวแก๊สขนาดใหญ่ อย่างดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์ ถึงไม่ได้มีการพบ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ แต่กลับพบ แอมโมเนีย .เหมือนๆกัน
all data credit : https://spaceth.co/uranus-smells-like-rotten-eggs/
photo credit >>> http://www.ox.ac.uk/sites/files_oxfordmedium/field/main/uranus.jpg
photo credit >>> http://ichef.bbci.co.uk/wwfeatures/wm/live/1280_640/images.live.jpg
photo credit >>> http://galnet.wikia.com/wiki/Uranu?file=Uranus_inthe_Universe.png