เนื่องจากเพิ่งผ่านปีใหม่มานิดๆ จึงใคร่ขออนุญาตแนะนำเล็กน้อย เกี่ยวกับการไหว้พระรับศักราชใหม่ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจ เผื่อบางท่านที่อาจจะยังไม่รู้ ว่าจะไปเบิกฤกษ์เอาบุญที่ไหนดี จึงขอแนะนำ สิ่งศักดิ์สิทธิ์แถวฝั่งธนฯเป็นหลัก เพราะคนน้อย ไม่ต้องไปเบียดเสียดผู้คนที่วัดใหญ่ๆ และวัดที่แนะนำดังต่อไปนี้ ก็เป็นวัดที่ไม่เน้นพุทธพาณิชย์ .แต่เน้นความเชื่อถือเชิงตำนาน.แบบคติชนคนท้องถิ่นของย่านฝั่งธนบุรี
1. หลวงพ่อเกษร วัดท่าพระ อยู่แถบจรัญสนิทวงศ์ 4 พระองค์นี้สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา วิหารแกลบแบบโบราณของหลวงพ่อ มีบานประตูสมัยอยุธยาที่หลงหูหลงตาผู้คน วิหารนี้นับว่าเก่าแก่มาก แต่ทางวัดไม่ได้ทุบ ก็เลยสร้างวิหารใหม่คลุมซะ ก็นับว่าฉลาดล้ำ หลวงพ่อเกษรท่านดีทุกๆเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องร้อนใจไร้ที่พึ่ง ผู้คนมักจะถวายว่าวแก้บน หลวงพ่อเกษรท่านถือเป็นมิ่งขวัญของคนฝั่งธนฯครับ .แนะนำให้ไปอย่างมาก
2. พระศาสดา วัดสุวรรณาราม จรัญสนิทวงศ์ 32 ผู้มีอารมณ์ทางศิลปะ ควรมาวัดทองเพื่อชมงานศิลปะเป็นพิเศษ ส่วนคนทั่วไปมักมาไหว้หลวงพ่อพระศาสดา ที่ถือกันว่ามีความขลังยิ่งนัก พวกญาติโยมนิยมบนกันเรื่องเกณฑ์ทหาร หากได้ผลมักแก้บนด้วยการวิ่งม้า ซึ่งถ้าหาม้าไม่ได้ ก็จะใช้ผ้าขาวม้าอุปโลกน์ว่าเป็นม้าจริง แล้วนำมาวิ่งไปรอบโบสถ์ ส่วนเรื่องความขลังลองถามชาวบ้านดูได้ .หลายคนรับประกันความตื่นเต้น
3. หลวงพ่อโบสถ์น้อย วัดอมรินทราราม อยู่ข้างโรงพยาบาลศิริราชนี่เอง องค์นี้แคล้วคลาดจากระเบิด ที่ถล่มสถานีบางกอกน้อย วัดอมรินทร์ถูกระบิดถล่มจนพินาศทั้งวัด มีท่านรอดอยู่องค์เดียว ชาวบางกอกน้อยจึงเคารพนับถือท่านกันมาก ใครๆก็ต่างทราบเรื่องพุทธคุณของหลวงพ่อ ว่าเป็นที่เลื่องลือ หากไม่มีสมเด็จวัดระฆัง หรือไปวัดระฆัง(ซึ่งอยู่ใกล้ๆ)แล้วคนล้น ก็ไหว้หลวงพ่อโบสถ์น้อยแทนได้ อานุภาพไม่ธรรมดาครับ
4. หลวงพ่อพระร่วงทองคำ วัดมหรรณพาราม ใกล้ๆศาลเจ้าพ่อเสือ องค์นี้ก็นิยมถวายว่าวแก้บน รวมถึงตะกร้อ ส่วนผู้ที่มีใจใฝ่ศรัทธา ล้วนนับถือหลวงพ่อพระร่วงอย่างมาก จนมักข้ามฝั่งไปไหว้อยู่บ่อยๆ ดีทั้งด้านพุทธคุณ และ ความงามของศิลปะสุโขทัยชั้นสูง ชื่อหลวงพ่อก็บอกแล้วครับ ว่าเป็นทองคำแท้ๆ ซึ่งในเมืองกรุง คนจะนึกว่าพระทองคำมีแต่วัดไตรมิตร แต่ยังมีอีกองค์ครับ.คือที่วัดมหรรณพ์ แถมยังมีอิทธิฤทธิ์เสียด้วย
5. หลวงพ่อพระแซกคำ วัดคฤหบดี ฝั่งตรงข้ามท่าเรือเทเวศน์ ถึงองค์นี้มีขนาดย่อม แต่เก่ากว่าใครเพื่อน เพราะอายุถึงสมัยพระนางจามเทวี เรื่องเล่าทำนองอิทธิฤทธ์ ก็มีอยู่ตั้งแต่ตำนานของการที่ได้มา จนถึงการบนบานขอพร หลวงพ่อพระแซกคำ เป็นที่เคารพบูชาอย่างมาก ศิลปะวัดคฤหบดีไม่โดดเด่น แต่บรรยากาศท่าน้ำสงบ ถ้าจะข้ามฝั่งไปไหว้หลวงพ่อวัดเทวราชกุญชรก็ใกล้ ทางเดินอาจเข้าถึงยาก.แต่ก็คุ้มค่าด้านจิตใจ
6. หลวงพ่อพระฉันสมอ วัดอัปสรสวรรค์ ถ.เทิดไทย องค์นี้มีกิตติศัพท์เรื่องความเฮี้ยน ขนาดรัชกาลที่5 จะเชิญเข้าวัง แต่หลวงพ่อคงไม่อยากไป เลยบันดาลให้ฝนตกห่าใหญ่ 3วัน 3คืน จนพระพุทธเจ้าหลวงทรงอุทานว่า ‘จะอยู่ที่นี่ก็ตามใจ ปางของหลวงพ่อ’ องค์นี้จะขลังด้านการรักษาโรค แต่ก็มาทางแคล้วคลาดเช่นกัน คือสมัยสงครามโลก ชาวบ้านมักหลบระเบิดในวัด.ซึ่งระเบิดไม่เคยลงมาถูกสักลูก จึงเชื่อในอภินิหารครับ
7. หลวงพ่อสมปรารถนา และ หลวงพ่อดำ ณ วัดพิชยญาติการาม อยู่แถวถนนประชาธิปก หลวงพ่อสมปรารถนาเป็นพระธานในโบสถ์ ไดถูกอัญเชิญมาจากเมืองพิษณุโลก พุทธลักษณะดูงดงามมาก เชื่อกันว่า บันดาลให้สมปรารถนาได้ ส่วนหลวงพ่อดำเป็นพระองค์เล็ก ที่อยู่เบื้องหน้าพระประธาน เชื่อว่ามีฤทธิ์ทางแคล้วคลาด เพราะหลังจากเชิญมาวัด.ก็ไม่เคยมีใครจมน้ำที่หน้าวัดอีกเลย แม้เรือจะล่มหรือพลัดตกน้ำก็ตาม
8. หลวงพ่อโบสถ์บน วัดเศวตฉัตร องค์พระสร้างจากไม้ไผ่สาน เคยประดิษฐานในโบสถ์เก่าแก่ ที่ถูกถนนเจริญนครตัดขาดจากตัววัดหลัก มีชาวบ้านเคารพบูชาอย่างมาก สมัยสงครามโลกเล่ากันว่า ท่านออกไปปัดระเบิดที่ถล่มอู่ต่อเรือกรุงเทพฯ จนมือข้างหนึ่งร้าว ชาวบ้านที่สงสารท่านจึงพากันนำยาหม่องเอามาทาถวาย
9. หลวงพ่อพระพุทธนาคน้อย วัดประยูรวงศาวาส ถ. ประชาธิปก องค์นี้รอดระเบิดในสมัยสงครามโลก แบบไร้รอยขีดข่วน เป็นศิลปะสุโขทัยที่งดงามมาก ถ้าวัดกัลยาณมิตรมีคนมาก และดูวุ่นวายจนปวดหัว ก็แวะมาไหว้หลวงพ่อองค์ได้ เพราะถือเป็นหลวงพ่อโตซำปอกงเช่นกัน .แถมมีประวัติด้านแคล้วคลาดอีกต่างหาก
พระองค์สำคัญๆที่ประดิษฐานอยู่แถวฝั่งธนฯ ยังมีพระแจ้ง ในพระวิหารวัดอรุณ พระแสน วัดหงส์ (อยู่ใกล้ๆกัน) หลวงพ่อพระจุลนาค วัดอนงคาราม รูปเหมือนสมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน วัดราชสิทธาราม .เป็นต้น
==============================================
<<<<<<<<<<<< All Data Credit by https://www.facebook.com/kornkitd >>>>>>>>>>>>
<<<<<<<<<<<< All Data Credit by https://www.facebook.com/kornkitd >>>>>>>>>>>>
<<<<<<<<<<<< All Data Credit by https://www.facebook.com/kornkitd >>>>>>>>>>>>