ณ กรุงราบัต เมืองหลวงของโมร็อกโก ในแอฟริกาเหนือ หากคุณได้เดินทางไปถึง แล้วใช้เส้นทางที่มุ่งลงใต้ (ที่ข้ามเทือกเขาแอตลาส) ก่อนที่จะไปยัง เมืองวาร์ซาเซต อันเป็นประตูไปสู่ ทะเลทรายซาฮารา จะมองเห็นได้แบบชัดเจน ว่ามีหอคอยสูงใหญ่ตั้งจังก้าอยู่ทางทิศเหนือ ในอาณาบริเวณนี้ คือ โรงงานผลิตเซลล์แสงสุริยะ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งก่อสร้างโดยบริษัทข้ามชาติ จากประเทศจีน
หอคอยดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของโครงการโรงไฟฟ้า ที่ถูกพัฒนาด้วยการใช้เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์เข้มข้น (CSP) Noor III โดยมีจุดประสงค์หลักๆ เพื่อลดการนำเข้าพลังงาน จากต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ทางรัฐบาลโมร็อกโก จึงเร่งรัดการพัฒนาพลังงานทดแทนอย่างเต็มกำลัง ซึ่งมีการคาดหวังไว้ว่า จะสามารถผลิตพลังงานทดแทนได้ โดยคิดเป็นอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ 42% ในปี 2020
การริเริ่มอภิมหาโครงการ Belt and Road เกิดขึ้นในปี 2013 โดยผู้ประกอบการชาวจีน เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อเสถียรภาพของประเทศ สำหรับการปรับโครงสร้างด้านพลังงาน ภายประเทศของโมร็อกโก และยังมีวัตถุประสงค์ใหญ่ๆในลำดับถัดมา ก็คือเรื่อง เครือข่ายทางการค้าระหว่างประเทศ และ โครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงไปมาหากัน ทั้งระหว่าง เอเชีย กับ แอฟริกา และรวมถึง ยุโรป ตามเส้นทางสายไหมในสมัยโบราณ
ตั้งแต่ปี 2015 บริษัท Shandong Electric Power Construction Co., Ltd (SEPCO III) ได้ดำเนินการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้า NOOR II และ NOOR III ในเมืองวาร์ซาเซต ซึ่งโดยโปรเจ็กต์หลัก ได้แบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 เฟส ซึ่งคาดการณ์ว่า หากสร้างแล้วเสร็จทั้งหมด ชาวโมร็อกโก จะมีพลังงานสะอาดใช้ มากกว่าหนึ่งล้านครัวเรือน และยังสามารถส่งออกพลังงานไฟฟ้าส่วนเกิน ไปยังประเทศแถบยุโรปได้อีกด้วย