ในประวัติศาสตร์ ได้มีการพูดถึงตะกร้อไว้ตั้งแต่โบราณ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานชัดเจน ว่าเริ่มมีการละเล่นชนิดนี้ตั้งแต่สมัยใด จึงสันนิษฐานได้เพียงตามเท่าที่มีบันทึกไว้ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์เท่านั้น และภูมิภาคเอเซียอาคเนย์ของเรา ยังได้ปรากฏการละเล่นที่ใกล้เคียงกับกีฬาชนิดนี้ ในแถบประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งแต่เดิมวัสดุที่ใช้สานลูกตะกร้อจะเป็นหวาย ส่วนการเล่นก็ไม่ต่างกันมาก กติกาปลีกย่อยก็ขึ้นอยู่กับถิ่นฐานนั้นๆตามชอบ
—————————————————————————————————–
จากการค้นคว้าในอุษาคเนย์ ตะกร้อได้มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านรูปแบบการเล่น และอุปกรณ์ ในยุคแรกเริ่ม มีทั้งเป็นผ้า หนังสัตว์ หวาย และ พลาสติก // ตะกร้อได้ถูกค้นพบ โดย Malacca Sultanate ในศตวรรษที่ 15 // การละเล่นนี้ที่พม่า มีมายาวนาน เรียกว่า “ชีนโลน” // มาเลเซีย อ้างว่าตะกร้อเป็นกีฬาของแถบมาลายู แต่ดั้งเดิมเรียก “เซปะกร้ากา” // ฟิลิปปินส์ก็มีกีฬาทำนองนี้เช่นเดียวกัน โดยมีชื่อเรียก “ซิปะก์”
—————————————————————————————————–
ในที่สุดแล้วการละเล่นอย่างสนุกๆ ก็ได้ถูกนำมาบรรจุไว้ให้เป็นประเภทกีฬา ในระดับนานาชาติ เพื่อแข่งขันกันสร้างสมานฉันท์ โดยมีการตั้งกติกาไว้อย่างชัดเจน เพื่อที่จะใช้ในการตัดสิน สำหรับเซปักตะกร้อนั้น ถูกกำหนดไว้ดังนี้ การแข่งขันของผู้เล่น 2 ฝ่าย แต่ละฝ่าย จะมีสมาชิกเท่ากันคือ 3 คน การทำคะแนน คือทำไต้ด้วยการใช้ หัว ไหล่ ศอก เข่า และ เท้า บังคับลูกตะกร้อ ให้ข้ามตาข่ายลงไปในแดนของคู่ต่อสู้ เพื่อเอาแต้ม
—————————————————————————————————–
data credit >>> https://en.wikipedia.org/wiki/Sepak_takraw
photo credit >> https://lh3.googleusercontent.com/pW.C3u
—————————————————————————————————–
Website