ภูมิปัญญาโบราณในด้านการช่างในสายก่อสร้างโยธา งานดินเผาของคนมอญ ถือว่ายอดเยี่ยมไม่แพ้ใคร หากเป็นงานหัตถกรรม ช่างทอผ้าคงต้องยกให้ลาว ส่วนงานไม้ต่างๆต้องยกให้ไทย ดังนั้นในยุคสมัยก่อน หากมีผู้ต้องการภาชนะดินเผา เช่น ถ้วย ชาม หม้อ โถ ไห โอ่ง ถ้าอยากได้ของดี ต้องซื้อจากมอญเท่านั้น ถึงราคาจะแพงกว่าของที่อื่น แต่ความทนทานนั้น.ก็มากกว่าของที่อื่นด้วย
ดังนั้น ช่างชาวมอญ จึงมีฝีมือเป็นเอกเกี่ยวในด้านเครื่องปั้นดินเผา เพราะมีทั้งความสวยงาม แถมยังให้ความคงทน และ ยังมีอีกสิ่งหนึ่ง ที่จะไม่กล่าวถึงคงจะไม่ได้ เนื่องจากกิตติศัพท์.ยังคงเลื่องลือมาถึงในยุคปัจจุบัน นั่นก็คือ “อิฐมอญ”
ตามประวัติศาสตร์แล้ว เมื่อครั้งรัชกาลที่๑ ดำริที่จะสร้างกรุงเทพฯเป็นราชธานี ของราชอาณาจักรสยาม ทรงมีบุคลากรที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร หลากหลายเชื้อชาติ กิจการสร้างราชธานีจึงถูกจัดสรร ไปยังผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ดังที่ชาวมอญได้ช่วยกันเผาอิฐ เพื่อใช้เป็นวัสดุหลัก ทดแทนอิฐที่มีการไปนำมาจาก.กรุงศรีอยุธยาราชธานีเก่า.ซึ่งเหลือน้อยจนไม่เพียงพอใช้งาน
ขั้นตอนการทำอิฐมอญนี้ ต้องเลือกเอาดินเหนียวมาปนกับดินร่วน และผสมด้วยทรายเล็กน้อย ถ้าเนื้อดินที่นำมาทำออกสีแดงดำ จะถือว่าดีมากๆ หลังจากนั้นค่อยนำดินไปหมักไว้ให้ชุ่มน้ำ จึงนำขี้เถ้าแกลบมาโรยทับให้ทั่ว พอหมักได้ที่แล้วค่อยนำมาเทใส่แบบไว้ แล้วตากแดดผึ่งลมให้แห้งสนิท จึงนำไปเข้าเตาเผา การเรียงอิฐของชาวมอญถือเป็นเทคนิคสำคัญ ที่จะทำให้อิฐทุกก้อนสุกเท่ากัน
>>>>> all credit by https://www.facebook.com/RamannMon <<<<<