การตัดต่อรูปภาพ เพื่อใช้ทำการสื่อสารในการประชาสัมพันธ์ เป็นสิ่งที่ใช้กันอยู่ในวงกว้างแทบทุกวงการ ไม่ว่าจะเป็นวงการ ภาพยนตร์ ละคร โฆษณา หรือแม้กระทั่ง วงการสื่อสารมวลชน ที่มีความมุ่งหวัง ให้ผลงานปรากฏในพื้นที่สาธารณะ บรรดางานที่ถูกตัดต่อ ถูกแทรกซึมเข้าสู่ชีวิตประจำวันของทุกๆคน ยิ่งในยุคโลกไซเบอร์ ก็ยิ่งเจริญเติบโตสุดขีด การตัดต่อนี้ก็ยิ่งเข้าถึงผู้คน ได้แทบทุกหย่อมหญ้า โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่กะพริบตา ผ่านทางโปรแกรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ จนไปถึง.โทรศัพท์เคลื่อนที่ราคาหลักพัน
โดยทั่วไปแล้ว หลักการเลือกนายแบบหรือนางแบบ ทางแบรนด์ก็มักจะคัดสรร คนที่หน้าตาดี (กว่าคนทั่วไปอยู่แล้ว) และเมื่อผ่านขั้นตอนนั้นมา จนเข้าสู่กระบวนการผลิตสื่อบางส่วน ที่เกือบจะเสร็จสิ้น การตัดต่อก็จะทำหน้าที่เสริม เพิ่มส่วนที่ขาด เพื่อความสมบูรณ์แบบ และในที่สุดผลงานที่ออกมา.ก็คือ สิ่งที่ไม่ใช่ความจริง
ล่าสุด วงการโฆษณาของฝรั่งเศสมีกฎหมายบังคับใช้ (เริ่มวันที่ 1 ตุลาคม) ว่า “ภาพที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ ถ้ามีการนำภาพไปปรับเปลี่ยน ด้วยเครื่องมือดิจิทัล ต้องมีการเขียน ‘Photography Retouch’ กำกับไว้ด้วย และหากฝ่าฝืน ก็จะถูกโทษปรับเป็นจำนวนเงิน 30% ของงบประมาณโฆษณา โดยมีขั้นต่ำที่ 45,000 ฟรังก์
========= นี่ไม่ใช่ครั้งแรกของโลก ที่มีการตื่นตัวในเรื่องแบบนี้!! =========
หากจะลองมองย้อนกลับไป เมื่อปี พ.ศ.2553 ทางประเทศออสเตรเลียเอง ก็ได้เคยมีการออกระเบียบต่างๆ เรื่องของการจัดทำภาพตัดต่อเอาไว้ มาแล้ว แต่ทั้งนี้เท่าที่ผ่านมาก็ยังคงเป็นแค่ การขอความร่วมมือเท่านั้น!
ถัดมาในปี พ.ศ. 2554 ผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ Lancome และ Maybelline ได้ถูกแบนรูปภาพโฆษณา ที่เผยแพร่ภายในสหราชอาณจักร เนื่องจากมีการใช้โปรแกรม Retouch ใบหน้านางแบบ.จนเกินความเป็นจริง
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2556 ในอิสราเอล มีการออกกฎ Photoshop Law ว่า นายแบบ/นางแบบ ที่ใช้ ต้องมีค่า BMI มากกว่า 18.5% เพื่อไม่ให้คนเข้าใจว่า การผอมเป็นสิ่งที่นิยม และหากมีการตัดต่อ ต้องระบุให้ชัดเจนในโฆษณาด้วย แต่กฎนี้ก็ไม่ได้มีคนทำตามนัก. เพราะไม่ใช่กฎหมายอาชญากรรม แถมยังไม่ได้มีบทลงโทษ
ล่าสุด มีเรื่องโด่งดังในปี 2559 ที่ผ่านมา ได้มีการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่เกิดขึ้น เมื่อ Lena Durham กล่าวว่า เธอจะไม่ยอมให้ใคร มาตัดต่อภาพของเธอเป็นอันขาด หลังจากที่นิตยสาร VOGUE ได้ตัดต่อภาพของเธอ จนเกินจริง (ในปี 2557) เมื่อเธอคิดว่า. สิ่งนั้นเป็นการไม่เคารพตัวเธอ เพราะเธอควรจะสวยในแบบที่เธอเป็น
เห็นได้ว่าในโลกยุคปัจจุบัน สื่อและโฆษณาจะเป็นอุตสาหกรรมแรกๆ ที่จะถูกปรับเปลี่ยน โดยในช่วงแรกนั้น ก็ได้มีการรณรงค์เรื่องของเชื้อชาติและศาสนา (Diversity) เพื่อให้ผู้คนตระหนักว่า ทุกคนคือเพื่อนกัน และ ตอนนี้ก็ถึงยุคแห่งความจริง (Authencity) ที่แบรนด์ต้องกล้าพูดความจริง.และ.ก็ต้องจริงในทุกเรื่องอีกด้วย
สำหรับในไทย มักจะพบเห็นได้บ่อยครั้ง ในงานสิ่งพิมพ์ กับข้อความที่ว่า “ภาพนี้ใช้เพื่อการโฆษณาเท่านั้น”
===========================================================================
credit : http://marketeer.co.th/archives/132439 ////// credit : https://helpx.adobe.com
===========================================================================