โรคเครียด ในทางการแพทย์เรียกว่าเป็น “ภาวะการปรับตัวปกติ” เมื่อเจอภาวะกดดัน จากการเปลี่ยนแปลงในชีวิต มันจะทำให้รู้สึก เครียด วิตกกังวล สับสน งุนงง หวั่นไหว เซ็ง เบื่อ เศร้า เสียใจ หงุดหงิด ซึ่งอาการเหล่านี้นับว่าเป็น “ปฏิกิริยาการปรับตัวปกติ” ของจิตใจ แต่ในทางตรงข้าม ถ้าเจอเรื่องแย่ๆหนักๆแต่กลับไม่รู้สึกอะไรเลย จะถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติมาก
ในเวลาที่เราเจอเรื่องแย่ๆ ย่อมรู้สึกหนักใจ ทุกข์ใจ เพราะมันเป็นกลไกป้องกันตัวทางธรรมชาติคือ จิตใจจะตื่นตัวให้เตรียมพร้อม รับสถานการณ์ที่กำลังรู้สึกไม่ชอบมาพากล ซึ่งเหตุการณ์นั้นๆ กำลังจะคุกคาม ต่อความสุข ความสบาย ความมั่นคง ในชีวิตของเรา อาการดังกล่าว จึงเป็นสัญญาณเตือนภัยชั้นดี ให้เราเตรียมพร้อมรับมือ กับบางสิ่งบางอย่างที่กำลังจะเกิดขึ้น
เมื่อไหร่ที่เราจะบอกได้ว่า ความเครียดอันนี้ ไม่ใช่สัญญาณเตือนภัยปกติ เพราะมันกำลังทำงานตื่นตัวมากเกินไปจนผิดปกติ หรือ ในทางการแพทย์เรียกว่า “ภาวะการปรับตัวผิดปกติ” ภาวะเหล่านั้น จะมีข้อสังเกตดังต่อไปนี้
เมื่อเช็คสัญญาณเตือนภัยละพบว่า มันทำงานตื่นตัวผิดปกติ เราจะต้องรีบกลับมาดูแลตัวเองอย่างระมัดระวัง
1. หาสาเหตุของความเครียด เพราะบางคนเครียดมากจนสับสน จับต้นชนปลายไม่ถูก ว่าเราเครียดจากเรื่องอะไรกันแน่ ดังนั้นจึงควรตั้งสติ แล้วค่อยๆมองปัญหาทีละส่วน เพื่อที่จะแก้ปมปัญหา ที่พันเป็นก้อนกลม ให้คลี่คลายออกทีละปม โดยไม่ต้องรีบเร่ง เพราะยิ่งใจร้อนจะยิ่งแก้ไม่ออก แล้วจะยิ่งทำให้ท้อใจไปโดยใช่เหตุ จนอาจจะเข้าใจผิด แล้วพาลคิดว่าแก้ไม่ได้
2. ทำความเข้าใจกับปัญหาพวกนั้นให้ดีอย่างช้าๆ และเมื่อพอเห็นถึงสาเหตุที่ชัดเจนแล้ว ให้ลองค่อยๆทำความเข้าใจกับปัญหาเหล่านั้น ทีละขั้นทีละตอน จะได้เป็นการช่วยแก้ไขเรื่องราวต่างๆ ให้คลี่คลายได้ผลดี และมีประสิทธิภาพมากยิ่งๆขึ้น
3. ถ้าการแก้ปัญหาเพียงลำพัง ทำให้มีความลำบากใจ หรือ กลับหนักอกหนักใจมากขึ้น เราอาจหาใครสักคนที่เรารัก เช่น คนในครอบครัว หรือ เพื่อนสนิทมิตรสหาย มาช่วยรับฟัง เพราะการได้ระบายปัญหาออกไปบ้าง จะช่วยคลายความกดดันให้ลดลงไปได้มาก ในหลายๆคนเมื่อได้เล่ามันออกไป จิตใจจะรู้สึกปลอดโปร่ง สบายใจขึ้น ทำให้เห็นทางออก ได้ดียิ่งๆขึ้นไป
4. พยายามไตร่ตรองดูปัญหาด้วยเหตุด้วยผลอย่างมีสติ ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้วนี่ มีปัญหาอะไรบ้างยังไง โดยมีแนวทางดังนี้
การดูแลจากเหล่าบรรดาคนใกล้ชิด อันนี้นับได้ว่าสำคัญมาก เพราะสภาพแวดล้อมจะสามารถช่วยลดภาวะความตึงเครียด และยังช่วยส่งเสริมในการแก้ปัญหา ..ให้ไปในทิศทางที่ดีในทางที่ถูกต้อง
1. การรับฟังอย่างเข้าใจ การฟังที่ดีถึงแม้จะคอยรับฟังเพียงอย่างเดียวก็เป็นการเยียวยาความรู้สึกของคนได้อย่างยอดเยี่ยม
2. ให้คำแนะนำที่เหมาะสม คำแนะนำที่เหมาะสมมาจากไหน คำแนะนำที่เหมาะสมย่อมมาจากความเข้าใจในตัวเขา และปัญหาที่เกิดขึ้น ดังนั้นจึงไม่ควรรีบแนะนำ ถ้าหากยังไม่เข้าใจในตัวเขาและปัญหาของเขา เพราะจะยิ่งทำให้รู้สึกแย่กว่าเดิม
3. พยายามสร้างกำลังใจ โดยชี้ให้เขาเห็นศักยภาพในตัวของเขา เพื่อให้เขาเกิดความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น ว่าสามารถเผชิญต่อปัญหานั้นได้ แต่ถ้าความรู้สึกเครียดมีมากจนเกินจะรับมือไม่ไหว การพบจิตแพทย์ ก็เป็นทางออกอีกทางที่ช่วยได้
============================================================
ข้อมููลจาก : ThaiPsychiatricAssociation // ภาพจาก : BANGKOKLIGHT
============================================================