ตามหลักดังที่พระบาลีได้ยกขึ้นไว้ข้างต้น เกี่ยวกับเรื่องความกตัญญูนั้น ได้ความดังนี้
โย เว กตญฺญู กตเวทิ ธีโร ————————- ผู้ใดเป็นผู้มีปัญญามีความกตัญญู กตเวที
กลฺยาณมิตฺโต ทฬฺหภตฺติ จ โหติ ——————— เป็นกัลยาณมิตรต่อ เพื่อนอย่างมั่นคง
ทุกฺขิตสฺส สกฺกจฺจ กโรติ กิจฺจ — ย่อมกระทำกิจ ช่วยเหลือบุคคลผู้มีความทุกข์โดยเคารพ
ตถาวิธํ สปฺปุริสํ วทนฺติ ——————— บัณฑิตทั้งหลายกล่าวบุคคลเช่นนี้ว่าเป็นสัตบุรุษ
สรุปแล้ว ก็ได้ใจความว่า คนกตัญญูกตเวที ย่อมทำอะไรได้หลายอย่าง และ ในที่สุดก็เป็น สัตบุรุษ ความหมายของคำว่าสัตบุรุษนี้ คือเป็นผู้มีความสงบ หรือทำความสงบส่วนตัว ก็มีความสงบ ผู้อื่นก็พลอยได้รับความสงบ บ้านเมืองหรือโลกนี้ ก็พลอยได้รับความ สงบจากสัตบุรุษ แต่โดยส่วนใหญ่ ท่านหมายถึง ความสงบระงับในส่วนจิตใจของตน
คนที่จะเป็นกัลยาณมิตร แก่ใครอย่างแน่นแฟ้นนั้น อาศัยความกตัญญูกตเวทีเป็นสื่อ และ เป็นเครื่องผูกพัน ไม่ว่าจะมองกันใน ฝ่ายไหน ก็ล้วนแต่มีความรู้ หรือยอมรับรู้ ซึ่งบุญคุณที่มีต่อกันและกัน ถึงได้ทั้งนั้น
สรุปความว่า ถ้ามีความรู้สึก กตัญญูกตเวทีต่อกันและกัน ในแง่ใดแง่หนึ่ง ความเป็นมิตรนั้น จะมั่นคง แม้ที่สุดจะเป็นเพื่อนบ้านกัน ถ้าระลึกถึงความที่มีบุญคุณต่อกัน อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ แล้วความเป็นมิตรนั้นจะมั่นคง คนที่คิดได้อย่างนี้ ก็เรียกว่าเป็นนักปราชญ์ ไม่ใช่นักปราชญ์ที่จะรู้อะไรมาก เหมือนอย่างที่เขานิยมกันสมัยนี้ แต่ว่าเป็นนักปราชญ์ ชนิดที่มีปัญญา ที่จะแก้ปัญหาทั้ง ส่วนตนและส่วนสังคมได้
————————————————————————————————–
อ่านเพิ่ม http://bit.ly/2zwCKnb ดาวน์โหลด http://bit.ly/2i9gIwH
————————————————————————————————–
CREDIT >> https://www.facebook.com/buddhadasaarchives/
PHOTO CREDIT >> https://positivepsychologyprogram.com/
————————————————————————————————–