ถิรไทย หรือ TRT ประเดิม Q4 คว้างานการไฟฟ้านครหลวง กฟน. ลงนามสัญญาซื้อขาย หม้อแปลงไฟฟ้าชนิดติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันสมบูรณ์ (Completely Self Protect transformer) ขนาด 225 kVA 3 Ph 24000-416/240 V จำนวน 213 เครื่อง สัญญาเลขที่ MP9-8975-BGE มูลค่า 131,731,980 บาท เตรียมส่งมอบ Q4 ปี 2560 คาดรายได้ปีนี้ใกล้เคียงปีก่อน พร้อมเตรียมประมูลงาน อย่างต่อเนื่องประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่ง TRT คาดจะมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 25 -30%
นายสัมพันธ์ วงษ์ปาน กรรมการผู้จัดการ ของ บริษัท ถิรไทย จำกัด(มหาชน) หรือ TRT ผู้นำตลาดหม้อแปลงไฟฟ้า และอุตสาหกรรมด้านเกี่ยวกับพลังงานรายใหญ่ของประเทศ เพื่อผลิตสินค้าตามคําสั่งซื้อของลูกค้า (made to order) เพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ลงนามสัญญาซื้อขาย หม้อแปลงไฟฟ้าชนิดติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันสมบูรณ์ (Completely Self Protect transformer) ขนาด 225 kVA 3 Ph 24000-416/240 V จำนวน 213 เครื่อง สัญญาเลขที่ MP9-8975-BGE มูลค่า 131,731,980 บาท กับการไฟฟ้านครหลวง โดยมี นายชัยยงค์ พัวพงศกร ผู้ว่าการไฟฟ้านครหลวง (กฟน) ร่วมลงนามสำหรับการส่งมอบหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันสมบูรณ์ ที่เซ็นสัญญากับทาง กฟน. จะส่งมอบประมาณเดือนธันวาคม ปี 2560 โดยทางกฟน. จะนำไปติดตั้งในระบบจำหน่ายไฟฟ้าของ กฟน. ซึ่งนับได้ว่า กฟน.เป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สำคัญ ที่ได้ให้การสนับสนุนใช้หม้อแปลงไฟฟ้า ของ ถิรไทย ตลอดมา นับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้น จวบจนปัจจุบันเป็นเวลากว่า 30 ปี
สําหรับครึ่งปีที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้ลดลง ซึ่งเกิดมาจากปัจจัยหลักมาจาก การส่งมอบสินค้าที่มีกําไรขั้นต่ำ โดยเฉพาะหม้อแปลงไฟฟ้า เนื่องมาจาก ภาวะการแข่งขันทางด้านราคาของตลาดหม้อแปลงไฟฟ้ายังสูง จากการใช้งบประมาณของภาครัฐยังไม่กลับมาเป็นภาวะปกติ ทําให้กําไรขั้นต้น ของ Transformer group และ Non-Transformer group ลดลงจาก 24% และ 44% ตามลําดับ สําหรับงวด 6 เดือน ในไตรมาส 2 ปี 2559 มาอยู่ที่ 10% และ 31% ตามลําดับ ในไตรมาส 2 ปี 2560 สำหรับกําไรขั้นต้นของกลุ่มบริษัท ถิรไทย จะขึ้นอยู่กับภาวะการแข่งขัน และการรับรู้รายได้ ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาส่งมอบของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ซึ่งเป็นเรื่องปกติของกลุ่มธุรกิจ ถิรไทย ในขณะที่ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร สําหรับ 6 เดือนในไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ที 26% เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน อยู่ที 24% การเพิ่มขึ้น เนื่องจาก การเพิ่ม ขึ้นของอัตราดอกเบี้ยของตลาดตราสารหนี้ และ การขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน
สำหรับแผนธุรกิจของบริษัทฯ ได้ตั้งเป้าหมายยอดขายทั้งกลุ่มไว้ประมาณ 4,290 ล้านบาท ในปี 2562 โดยใช้กลยุทธ์การขยายฐานตลาดส่งออกหม้อแปลงไฟฟ้า ซึ่งจะเน้นตลาดในกลุ่มประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงโดยเฉพาะ กลุ่มประเทศ AEC โดยเน้นลูกค้าที่ต้องการวิศวกรรมการออกแบบ ซึ่งคาดว่าจะสามารถเพิ่มยอดส่งออกจาก 479 ล้านบาท ในปี 2559 เป็น 610 ล้านบาท ในปี 2560 หรือ เพิ่มขึ้นคิดเป็น 27% จากปี 2559 โดยมีอัตราเติบโตเฉลี่ยปีละ 10% ตั้งแต่ปี 2561 ถึง 2562 และเพิ่มกำลังการผลิตของโรงงานผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อรองรับความต้องการหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นจากแผน PDP 2015 ซึ่งประมาณการงบลงทุนในโครงการระบบเสาส่งไฟฟ้า แรงสูงของการไฟฟ้า ฝ่ายผลิต สำหรับปี 2559-2563 อยู่ที่ประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่ง TRT มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 25 – 30% รวมถึงกลยุทธ์ในการเพิ่มประสิทธิภาพของ กลุ่มงาน Steel Fabrication และงาน EPC ด้วยการเตรียมแผนเพื่อเข้ารับการรับรองมาตรฐานขั้นสูงต่างๆ ตัวอย่างเช่น ASME ซึ่งคาดว่าจะได้รับการรับรองมาตรฐานในปี 2560 ทั้งด้านศักยภาพการผลิต และบุคลากร เพื่อเพิ่ม Value Added ซึ่งสามารถทำให้ยอดขายของงานกลุ่มงานนี้ สามารถเติบโตจาก จาก 161 ล้านบาทในปี 2559 เป็น 529 ล้านบาท ในปี 2560 โดยมีอัตราเติบโตเฉลี่ยปีละ 20% ต่อปี ตั้งแต่ปี 2561 – 2562 ทั้งนี้บริษัทฯ ยังคงรักษาอัตรากำไรขั้นต้น ของกลุ่มบริษัท ถิรไทย เฉลี่ยอยู่ที 20 – 23% และจะเพิ่มศักยภาพ และเสริมทรัพยากรบุคคลในองค์ให้มีคุณภาพ และเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจ