ก็ในเมื่อผู้บริโภค ยังคงบริโภคไม่หยุดยั้ง แล้วการรณรงค์ ให้ลดปริมาณขยะพลาสติก ก็เกิดผลไม่ทันใจ จึงต้องมีการปรับปรุงวัสดุ ที่นำมาใช้ผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อันนี้ถือว่าดีครับ เพราะในเมื่อการขจัดปัญหาปลายทาง สัมฤทธิ์ผลได้ล่าช้า ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ ผู้ที่ส่วนเกี่ยวข้องในการผลิตขยะ จึงควรมีส่วนรับผิดชอบ เพิ่มอีกช่องทาง
เช่นนี้เองจึงเกิดเป็นมหาโปรเจ็คท์ ด้วยการพัฒนาแพคเกจจิ้ง ให้มีคุณสมบัติในการลดมลภาวะ เจ้าของไอเดียบบรรเจิดนี้คือ บริษัท Avani Eco ผู้ผลิตนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์รักโลก สัญชาติอินโดนีเซีย ได้กล่าวถึง โปรดักส์ ‘I AM NOT PLASTIC’ ของเขา ว่าได้ผ่านกรรมวิธีผลิต ด้วยการใช้วัตถุดิบจากมันสำปะหลัง ที่มีคุณสมบัติโดดเด่น ด้วยการนำกลับมาใช้ก็ได้ ย่อยสลายตามธรรมชาติก็ได้ ละลายน้ำก็ยังได้ และที่เด็ดที่สุดคือ มันสามารถกินได้
แรงบันดาลใจนี้ได้เกิดขึ้นจาก บริษัท Avani Eco มีความมุ่งมั่นที่จะช่วยแก้ปัญหาขยะ ที่กระจัดกระจายอยู่ภายในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นเรื่องที่ยาก เพราะความต้องการใช้พลาสติก ยังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง และขยะพลาสติกจำนวนมหาศาล ที่ถูกทิ้งในแต่ละวัน ก็ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ 100 %
ทางออกของเรื่องนี้ คือพยายามพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ให้มีความสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยใช้เป็นวัสดุทดแทน เพื่อลดทอนวัสดุที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เช่น หีบห่อ ขวดน้ำดื่ม หลอดพลาสติก แรปเปอร์ (แผ่นฟิล์มบางๆที่ใช้หุ้มอาหาร) ถุงประเภทต่างๆ และ ถ้วยเครื่องดื่มกระดาษ ที่มีส่วนผสมของพลาสติก
<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<
<<<<<<<<<< all credit by https://greennews.agency/?p=17271 >>>>>>>>>>
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>